อนุสรณ์ ดอนเจดีย์
อนุสรณ์ ดอนเจดีย์ หรือ พระบรมราชนุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นอนุสรณ์สถานมี่สร้างขึ้นเพื่อสดุดีมหาวีรกรรม ที่องค์พระนเรศวรทรงกระทำศึกยุทธหัตถี มีชัยชนะต่อ พระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดี
สถานที่ตั้ง อนุสรณ์ ดอนเจดีย์ อยู่ที่ ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี เป็นที่เคารพสัการะ ของคนสุพรรณเป็นอย่างยิ่ง หากมาเที่ยวจังหวัดสุพรรณก็ไม่ควรพลาดมากราบสัการะ เพื่อน้อมระลึกถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงกอบกู้เอกราชชาติ บ้านเมืองจากการปกครองของพม่าเอาไว้ได้ ทำให้ไทยเป็นเอกราชมีแผ่นดินสืบมาจนถึงปัจจุบัน
เนื้อหาในบทความ เที่ยวพระบรมราชานุสรณ์ ดอนเจดีย์ สุพพรรณบุรี

ประวัติการค้นพบองค์พระเจดีย์
“พระเจดีย์ยุทธหัตถี นี้เป็นอนุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติของเมืองไทย” พระราชดำรัสสมเด็จพระมุงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สืบเนื่องจาก สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไปทรงค้นคว้าพระราชประวัติของ”สมเด็จพระนเรศวรมาหราช” จากบันทึกและพงศาวดารต่างๆ ทรงพบรายงานว่า สมเด็จพระนเรศวรเจ้าทรงสร้างเจดีย์ไว้ เมื่อครั้งชนะศึกหระมหาอุปราช ที่ตำบล ตระพังกรม จึงมีรับสั่งให้ออกค้นหา “เจดีย์ใหญ่ แทบแขวงเมืองกาญจนบุรี และแขวงเมืองสุพรรณบุรี ที่มีขนาด หรือลักษณะเจดีย์ เหมาะสมว่าเป็นของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างไว้
พระยากาญจนบุรี ออกค้นหาใน ต.ตระพังกรุ เป็นที่ดอน มีบ่อน้ำกรุด้วยอินหลายบ่อ คำโบราณเรียกว่า ตระพังกรุ ถามชาวบ้านถึงเจดีย์บริเวณดังกล่าวก็ไม่มีใครทราบ เมื่อออกสสำรวจต่อเองก็พบเพียงเจดีย์ องค์เล็กๆไม่น่าจะเป็นลักษณะที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างไว้
ต่อมา พระยาสุพรรณฯ (พระยาสุนทรบุรี สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี) เข้ารายงานต่อพระยาดำรงราชานุภาพว่า ได้ออกสืบหาใน ต.หนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณ ทางทิศตะวันตกของเมืองสุพรรณบุรี ชาวบ้านบอกว่า พระเจดีย์โบราณ อยู่ในป่าเรียกว่า ดอนเจดีย์ มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมมิด จึงระดมชาวบ้านตัดถางต้นไม้ออกจนหมด พบเห็น
พระเจดีย์ ก่ออิฐมีฐานทักษิณ รูป 4เหลี่ยม 3 ชึ้น ชั้นล่าง กว้าง และ ยาว 8 วา แต่เหนือฐานทักษิณชั้นที่ 3 หักพังเสียรูปไปแล้ว
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงกราบทูลการค้นพบแด่ สมเด็จพระมุงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงทราบ และพระองค์ทรงเสด็จมาสักการะด้วยพระองค์เองเมื่อ พ.ศ. 2556

การบูรณะองค์พระเจดีย์
หลังรัชกาลที่ 6 ทรงเสด็จมาสักการะพระเจดีย์แล้วทรงรับสั่งให้ กรมศิลปากรออกแบบ ฟื้นฟู บูรณะ แต่ยังติดขัดด้วยงบประมาณจึงหยุกชะงักลงไป
10 พ.ย. 2493 จอมพลผิน ชุณหวัณ ริเริ่มโครงการบูรณะอนุสรณ์ดอนเจดีย์อีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้ระลุกถึงบรรพชนที่เสียสละเลือดเนื้อปกป้องผืนแผ่นดินไทย โดยมอบหมายให้กรมการศาสนาเป็นผู้ค้นคว้าศึกษษเกี่ยวกับเจดีย์ยุทธหัตถีย์
21 ธ.ค. 2493 คณะกรรมการข้าราชการและประชาชนมีมติ เห็นสมควร บูรณะอนุสรณ์ดอนเจดีย์และ นำเสนอคณะรัฐมนตรี ปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ดำเนินการร่วมกับนายช่างกรมศิลปากร โดยได้รับเงินจากการบริจาคของ ประชาชน
25 มี.ค. 2495 คณะกรรมการบูรณะอนุสรณ์ ดอนเจดีย์ เห็นชอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบ เป็นรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึก ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2501
6 พ.ค.2496 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ คณะกรรมการบูรณะ อนุสาวรีย์ ดอนเจดีย์ เห็นชอบกับรูปแบบเจดีย์ที่คณะกรรมการพิจารณารูปแบบเจดีย์นำเสนอ คือ รูปแบบเจดีย์แบบลังกา ตามแบบเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา ขนาดฐาน๓๖ เมตร สูงจากพื้นถึงยอด๖๖เมตร โดยมีมติให้กรมศิลปากร ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2497
25 ม.ค. 2502 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จไปดำเนินการบวงสรวง และ เปิดพระบรมรูปอนุสาววรีย์ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

การศึกยุทธหัตถี
ครั้งปี พ.ศ. 2135 วันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พระมหาอุปราช แห่งกรุงหงสาวดี พร้อม มังจาปโร (เจ้าเมืองแปร) ได้ยกทัพเข้าตีกรุงศรีอยุทธยา ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์
ฝากฝั่งสมเด็จพระนเรศวร เคลื่อนพลเดินทัพ ตั้งท่าคอยรับศึกอยู่ที่ทุ่งหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณและให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นทัพหน้ารับศึกอยู่ที่ ดอนเผาข้าว เมื่อทัพพม่ายกทัพมาถึง พระยาศรีไสยณรงค์เพลียงพล่ำถูกตีแตกพ่ายถอยร่นลงมาถึงยังค่ายของพระนเรศวร
พระนเรศวรเห็นดังนั้นจึงยกทัพเข้าช่วยทัพของพระยาศรีไสยณรงค์ ที่กำลังแตกพ่าย
ขณะนั้นพระนเรศ ทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ และสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างชื่อว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร ช้างทั้ง 2 เป็นช้างศึกชนะงาตามตำราพิชัยสงคราม ทั้งยังกำลังอยู่ในช่วงกำลังตกมัน ทำให้มีเรี่ยวแรงพละกำลังมหาศาล
ในระหว่างเข้าช่วยทัพพระยาศรีไสยณรงค์ นั้น เจ้าพระยาไชยานุภาพ และเจ้าพระยาปราบไตรจักร ได้วิ่งเข้าประจัญบานสู้ศึกอย่างรวดเร็ว จนทัพทหารติดตามของพระนเรศวร และพระเอกาทศรถ ตามไม่ทัน และช้างทรงทั้ง 2 เชือก ได้วิ่งพาพระนเรศวรและพระอนุชา เข้าไปตกอยู่ในกลางวงล้อมของกองทัพพม่าเสียทั้ง 2 พระองค์
สมเด็จพระนเรศวร ทรงทอดพระเนตรเห็น พระมหาอุปราชา ทรงช้างอยู่ในร่มไม้อยู่กับเหล่าเท้าพระยาของหงสาวดี ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ที่ทรงเห็นว่าตนนั้นเสีบเปรียบเพลียงพล้ำอยู่ในวงล้อมพม่าข้าศึก จึงไสช้างเข้าไปตรัสกับพระอุปราช ด้วยความคุ้นเคยตั้งแต่ครั้งยังเป็น องค์ประกัน อยู่เมืองหงสาวดีว่า
“พระเจ้าพี่เรา จะยืนช้างอยู่ในร่มไม้ทำไมเล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายภาคหน้าไปจะไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้กระทำยุทธหัตถีอีกแล้ว”
พระมหาอุปราชา ได้ยินดังนั้นจึงทรงช้างชื่อ พลายพัทธกอ เข้าไปกระทำยุทธหัตถีกับพระนเรศวร พลายพัทธกอได้เข้าชน เจ้าพระยาไชยานุภาพจนเสียหลัก ถอยร่นไปติดโคนต้นพุทราใหญ่ พระมหาอุปราชา ทรงฟัน พระนเรศวร ด้วยพระแสงของ้าว แต่พระนเรศวรทรงเบียงพระองค์หลบทัน
เจ้าพระยาไชยานุภาพ ตั้งหลักได้โดยมีต้นพุทรา เป็นฐานค้ำยันไว้ ได้ออกแรงชนพลายพัทธกอ กลับไปจนเสียหลักหลักเท้าหน้าลอย เป็นเหตุให้พระนเรศวรได้โอกาส ฟันพระมหาอุปราชา ด้วยพระแสงของ้าว ต้องพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่ง สิ้นพระชนต์คาคอช้างขณะที่พระเอกาทศรถก็ชนช้าง มีชัยชนะต่อ มังจาปโร เช่นกัน
สงครามยุทธหัตถี ครั้งนั้นทำให้ไม่มีศึกพม่ามารบพุ่งกลับกรุงศรีอยุทธยาไปอีกยาวนาน และส่งผล เป็นมรดกให้เกิดเป็นแผ่นดินไทย ประเทศไทยปัจจุบัน ด้วยพระปรีชาสามารถ พระราชวีรกรรมในครั้งนั้นล้วน เป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลาย รวมถึงชนรุ่นหลังจะต้องจดจำไว้ตราบนานเท่านาน

องค์เจดีย์ยุทธหัตถี และ พระบรมราชานุสาวรีย์
พระบรมราชานุสรณ์ ดอนเจดีย์ ประกอบด้วย องค์พระบรมราชานุสรณ์ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างศึก เจ้าพระยาปราบหงสาวดี (เจ้าพระยาไชยานุภาพ) และ องค์พระเจดีย์ยุทธหัตถี (องค์เดิม) ที่สมเด็จพระนเรศวร ทรงสร้างขึ้นเพื่อฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถี
พ.ศ. 2495 กองทัพบกได้บูรณะองค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีแบบลังกา ทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้าง 36 เมตร ครอบองค์พระเจดีย์องค์เดิมไว้
ภายในองค์พระเจดีย์ได้มีการสร้างห้องแสดงประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับพระราชประวิติของสมเด็จพระนเรศวร และการทำศึกยุทธหัตถี มีทั้งภาพ แสง สี และเสียง รวมถึงรูปปั้นจำลองกองทัพไทยและพม่าสู้รบกันอย่างสมจริง
รวมทั้งยังมีรูปปั้นจำลององค์พระนเรศวรประทับยืน ทรงพระแสงดาบ ให้เคารพกราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล อีกด้วย

รูปปั้นจำลอง องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระบรมราชานุสาวรีย์ หน้าพระเจดีย์องค์เดิม ภายใน เจดีย์ออกใหม่

ไก่ชนพระนเรศวร ไก่เหลืองหางขาว
ไก่เชลยตัวนี้ อย่าว่าแต่ชนเพื่อความสนุกสนานเลย ชนเอาบ้านเอาเมืองก็ยังได้
กราบสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์
เมื่อเราเดินทางมาถึงยังอนุสรณ์ ดอนเจดีย์ สิ่งที่ไม่ควรพลาดคือการ กราบสักการะบูชา ระลึกถึงพระคุณของพระองค์ท่าน โดยท่านสามารถทำบุญบริจาค ซื้อดอกไม้ธูปเทียน ได้จากศูนย์อำนวยการซึ้งตั้งอยู่ ด้านขวาของพระราชานุสาวรีย์ (ถ้าเราหันหน้าเข้าหาพระเจดีย์ กองอำนวยการจะอยู่ด้านซ้ายมือของเรา) โดย
- ชุดถวายดอกไม้ธูปเทียนทอง ราคาชุดละ 20 บาท
- ชุดถวาย ช้าว ม้า ไก่ (แล้วแต่เลือก) พร้องดอกไม้ ธูปเทียน ทอง ชุดละ 50 บาท
เมื่อได้เครื่องไว้บูชาแล้วก็เข้าไป จุดธูป จุดเทียน ถวายเครื่องสักการะ บูชา อธิฐาน กราบขอพรพระบรมราชานุสาวรีย์ ด้านหน้าได้เลย โดยมีพระบรมราชานุสาวรีย์ จำลององค์เท่าจริง ประทับนั่งอยู่ด้านหน้าให้เราปิดทองได้อีกด้วย
นอกจากท่านจะสามารถซื้อเครื่องบูชาจากกองอำนวยการแล้ว ท่านจะเตรียมนำ ดอกไม้ พวงมาลัย พานพุ่มอันสวยงามประณีต มาเองก็ได้เช่นกัน พร้อม รูปปั้น ช้าง ม้า ไก่ชน ซึ่งว่ากันว่าเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงชอบ โดยเฉพาะไก่ชน ถ้าเป็นไก่เหลืองหางขาว ด้วยละก็จะทรงชื่นชอบเป็นพิเศษ หากเมื่อขอพรสิ่งใดแล้วหากสำเร็จก็จะมีผู้คนนำของเหล่านี้มาถวายแด่พระองค์ท่านอยู่เนื่องๆ

ตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
นอกจากนี้ด้านทิศตะวันออกขององค์อนุสรณ์ ดอนเจดีย์ ห่างกันประมาณ 200 เมตร ยังมีตำหนักสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งภายในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวร และพระพี่นางสุพรรณกัลยา พร้อมพระราชประวัติ เอาไว้ด้วยให้ศึกษา และมีผู็คนมากมายก็มาสักการะบูชาทั้ง 2 พระที่สถานที่แห่งนี้
- พระราชประวัติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- พระราชประวัติ พระสุพรรณกัลยา
ที่ตั้ง แผนที่ และการเดินทางสู่ อนุสรณ์ ดอนเจดีย์
อนุสรณ์สถานดอนเจดีย์ ตั้งอยู่ที่ ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
ข้อมูลพื้นฐาน สุพรรณบุรี
ความเป็นมาที่ชื่อว่า สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่มีหลักฐานประวัติศาสตร์มายาวนาน เป็นเมืองโบราณ มีการสันนิฐานว่า มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 – 3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่ สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี ศรีวิชัย
สุพรรณบุรี เดิมมีชื่อ “ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ “พันธุมบุรี”
ต่อมาพระเจ้ากาแต ได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า”เมืองสองพันบุรี”
ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกวา “อู่ทอง” จวบจนสมัย “ขุนหลวงพะงั่ว” เมืองจึงถูก เรียกว่าชื่อว่า “สุพรรณบุรี” นับแต่นั้นมา
สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรีไหลผ่านตามแนวยาวของจังหวัดจากเหนือจรดใต้ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5,358.01 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 3.3 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.2 ของพื้นที่ภาคกลางอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 107 กิโลเมตร (ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340) โดยทางรถไฟประมาณ 142 กิโลเมตร
แดนยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้น เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวใน อ.ดอนเจดีย์
- ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อ.ดอนเจดีย์
- วัดตรีวิสุทธิธรรม (หลวงพ่อไก่)
บ้านก๋วยเตี๋ยว
ร้านก๋วยเตี๋ยว น้ำใส สูตรโบราณ ขึ้นชื่อแสนอร่อย ร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อดัง ของ อ. ดอนเจดีย์