หมายเลขเสื้อ
เคย งง กันบ้างไหมเวลาที่นักวิจารณ์ หรือนักพากษ์ฟุตบอล พูดว่าผู้เล่นหมายเลขนั้นหมายเลขนี้ หมายเลขนั้นเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ หรือ นักเตะคนนี้คือนักเตะหมายเลขนี้หมายเลขนั้น เป็นต้น ขอยกตัวอย่างล่ะกัน เพื่อให้ชัดเจนเช่น “โรเมลู ลูกากู ดาวซัลโวสูงสุดของทีมชาติเบลเยี่ยม คือนักเตะหมายเลข 9 ตัวจริง” หรือ “ไค ฮาเวิร์ท แม้จะใส่เสื้อหมายเลข 29 แต่เขาคือผู้เล่นเบอร์ 10 ที่มีความสามารถโดดเด่นมาก” เป็นต้น
เดิมทีนั้น เมื่อมีการแข่งฟุตบอล นักฟุตบอลที่ลงสนามเท่านั้นถึงจะได้รับหมายเลข ตามตำแหน่งที่ตัวเองเล่น ในแต่ละนัดหากนัดต่อไปไม่ได้ลงเล่นก็ไม่มีหมายเลข
เช่น A และ B เป็น ผู้รักษาประตู นัดแรกของฤดูกาล A ได้ลงเล่น A จะได้ใส่เสื้อหมายเลข 1 นัดต่อไป B ลงเล่น บีก็จะใส่เสื้อหมายเลข 1 แทน A เรียกว่าเป็นเบอร์ประจำตำแหน่งที่เล่น ไม่ใช่เบอร์ประจำตัวของนักฟุตบอล
ต่อมาเมื่อฟุตบอลสมัยใหม่ในลีกอาชีพมาตราฐาน กำหนดให้แต่ละทีมต้องส่งรายชื่อนักฟุตบอล และ ต้องมีหมายเลขเสื้อประจำตัวในทีม ทำให้นักบอลทุกคนต้องมีเบอร์เสื้อประจำตัว และเกิดเป็นเบอร์เสื้อ 1-99
มาเที่ยวเกาะเต่า อย่าลืมมาดำน้ำกันนะค่ะ
ความสำคัญของเบอร์เสื้อ เป็นที่รู้กันว่า ฟุตบอลสนามใหญ่ จะมีผู้เล่นข้างละ 11 คน หมายความว่า การแข่งขัน 1 เกม จะมีผู้เล่นอยู่ในสนามได้สูงสุดข้าง 11 คน จึงสามารถเรียงลำดับผู้เล่นในตำแหน่งต่างๆ ที่แทนด้วยหมายเลขของผู้เล่นทั้ง 11 คนแรก ที่ลงไปในสนามดังนั้น หากนักเตะคนใด ใส่เสื้อเบอร์ 1-11 ก็หมายความว่าเป็นผู้เล่นคนสำคัญ ที่ผู้จัดการทีมมักจะเลือกให้ลงเล่นเป็น 11 คนแรกอยู่เสมอ
หมายเลขเสื้อกับตำแหน่งนักฟุตบอล
ก่อนอื่นคงต้องย้อนกลับไปยังฟุตบอลสมัยก่อน ที่รูปแบบการเล่นยังไม่ได้พัฒนาเรื่องเทคติค หรือสไตล์วิธีการเล่นมากเหมือนกับฟุตบอลในยุคปัจจุบันการเล่นฟุตบอลก็เหมือนกีฬาที่อาศัย ความแข็งแกร่งของนักกีฬาเป็นหลัก และรูปแบบการเล่นก็มีระบบเหมือนกัน เป็นบล็อคมาตราฐานของทีมฟุตบอลสมัยนั้น
ระบบ 2-3-5
ระบบการเล่นที่นิยมเล่นกันในสมัยนั้น คือระบบ 2-3-5 ซึ่งจะประกอบไปด้วย กองหลัง 2 คน กองกลาง 3 คน และกองหน้า 5 คนเมื่อเรียงเบอร์ 1-11 ตามตำแน่งในการลงสนามโดยเริ่มจาก แรวรับ ไปยัง แนวรุก จะได้เป็นดังนี้
1. ผู้รักษาประตู (Goal keeper)
2. ฟูลแบ็ค (Full back)
3. ฟูลแบ็ค (Full back)
4. ฮาล์ฟฝั่งขวา (Right half)
5. เซนเตอร์ฮาล์ฟ (Center half)
6. ฮาล์ฟฝั่งซ้าย (Left half)
7. ปีกขวา (Right Wing)
8. กองหน้าตัวใน (Inside forward)
9. กองหน้าตัวกลาง/ศูนย์หน้า (Center forward)
10. กองหน้าตัวใน (Inside forward)
11. ปีกซ้าย (Left Wing)
จากรูปแบบการเล่นฟุตบอลสมัยนั้น จะไม่มีกองกลางคอยรับเชื่อมเกมส์มากนัก นิยมเล่นกันแบบ บอลโยนยาว เมื่อกองหลังได้บอลก็จะเตะยาวไปให้กองหน้า เพื่อหาโอกาสทำประตู
ถ้าฝ่ายรับอีกฝ่ายแย่งบอลได้ก็จะ โยนกลับไปให้กองหน้าฝ่านตนเช่นกัน เล่นกันแบบผลัดกันรุกผลัดกันรับ ใช้พละกำลังความแข็งแรงร่างกายของนักเตะในการวิ่งขึ้น-ลง ไม่ค่อยใช้งานกองกลางเชื่อมเกมมากนัก
โดยจะสังเกตุเห็นได้ว่า กองหลังคือ เบอร์ 2 – 3 กองกลางแนวรับ สมัยนั้นเรียกว่า ฮาล์ฟ (Half) จะใช้เบอร์ 4 – 5 – 6 และกองหน้าแนวรุก 5 คนจะใช้เบอร์ 7 – 8 – 9 – 10 – 11
ระบบ 3 - 2 - 2 - 3
จากนั้นก็มีการพัฒนาแผนการเล่นขึ้นมาเป็น ระบบ 3-2-2-3 เพื่อให้มีกองกลางที่คอยเชื่อมเกมรุกและเกมรับมากขึ้น
โดยการปรับหมายเลข 5 เซ็นเตอร์ ฮาฟ (certre Half) ในแผงกองกลางแนวรับ ลงมาอยู่ตรงกลางในแนวกองหลังระหว่างหมายเลข 2 และหมายเลข 3 และเรียกตำแหน่งนี้ใหม่ว่า เซ็นเตอร์ แบ็ค (Centre Back) แต่ก็ยังมีหลายคนเรียกติดปากว่า เซ็นเตอร์ ฮาฟ อยู่
ส่วนในแนวรุกนั้น ก็มีการปรับถอยหมายเลข 8 และ หมายเลข 10 ลงมาเช่นกันมาอยูในตำแหน่ง กองกลางแนวรุก หรือ Attacking Midfielder
ทำให้ระบบใหม่นี้ มี กองหลัง 3 คน คือเบอร์ 2 – 5 – 3 กองกลาง 4 คน คือเบอร์ 4 – 6 – 8 -10 คอยเชื่อมประสานเกมรุกและรับ มีกองหน้าเหลือ 3 คน คือเบอร์ 7 – 9 – 11
1. ผู้รักษาประตู (Goal keeper)
2. ฟูลแบ็ค (Full back)
3. ฟูลแบ็ค (Full back)
5. เซนเตอร์ฮาล์ฟ (Center Back)
4. ฮาล์ฟฝั่งขวา (Right half)
6. ฮาล์ฟฝั่งซ้าย (Left half)
8. กองกลางตัวรุก (Attacking Midfielder)
10. กองกลางตัวรุก (Attacking Midfielder)
7. ปีกขวา (Right Wing)
9. กองหน้าตัวกลาง/ศูนย์หน้า (Center forward)
11. ปีกซ้าย (Left Wing)
ระบบ 4 - 4 - 2
ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบการเล่นเป็น 4-4-2 เพื่อให้การประสานงานกันในแต่ละแดนมีมากขึ้น โดยปรับให้มี กองหลังและกองกลาง อย่างละ 4 คน และมีกองหน้าเพียง 2 คน
ในส่วนของกองหลังนั้น ก็ปรับเบอร์ 4 ลงมาเป็นเซ็นเตอร์ แบ็ค ยืนคู่กับเบอร์ 5 ที่ปรับลงมาก่อน ทำให้มีกองหลังรวมเป็น 4 คน
ส่วนกองกลางนั้นก็ปรับเอา เบอร์ 7 เบอร์ 8 และ เบอร์ 11 ลงมายืนเป็นแผงกองกลางร่วมกับเบอร์ 6 ทำให้มีแผงกลาง 4 คน เรียงจากซ้ายไปขวา คือ เบอร์ 11 – 6 – 8 – 7
โดยในแผงกองกลางนี้ เบอร์ 6 ซึ่งเป็นแนวรับอยู่เดิมก็ให้เป็นกองกลางตัวรับ ส่วนเบอร์ 7 และ เบอร์ 11 ก็เล่นเกมริมเส้น ซ้าย-ขวา ตามเดิม
แต่เบอร์ 8 ซึ่งลงมาจากแนวรุกตัวกลางมักได้รับหน้าที่ให้เป็นตัวเชื่อมเกมและคอยช่วยเกมรุกในแดนหน้า และช่วยรับในกรอบเขตโทษของฝั่งตัวเอง เรียกว่า Box to Box ตำแหน่งนี้ต้องวิ่งขึ้น-ลง ทั้ง 2 ฝั่งสนามจึงจัดเป็นตำแหน่งของผู้เล่นพันธ์อึด พันธ์แกร่ง เท่านั้น
1. ผู้รักษาประตู (Goal keeper)
2. ฟูลแบ็ค (Full back)
3. ฟูลแบ็ค (Full back)
4. เซนเตอร์ฮาล์ฟ (Center Back)
5. เซนเตอร์ฮาล์ฟ (Center Back)
6. กองกลางตัวรับ (Defensive Midfielder)
8. กองกลางตัวรุก (Midfielder Box to Box)
7. ปีกขวา (Right Wing)
11. ปีกซ้าย (Left Wing)
9. กองหน้าตัวกลาง/ศูนย์หน้า (Forward / Striker)
10. กองหน้าตัวต่ำ (Second Forward / Striker)
ตำแหน่งผู่เล่นในระบบ 4-4-2 นี้ กลายเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับฟุตบอลสมัยใหม่เลยทีเดียว ในการจะสร้างนักฟุตบอลขึ้นมา มักนิยมให้เล่นในตำแหน่งของระบบ 4 4 2 เป็นพื้นฐานตามที่แต่ละคนถนัด ก่อนที่จะพัฒนาต่อยอดให้เล่นในตำแหน่งอื่นๆตาม ระบบที่ถูดคิดค้นขึ้นมาใหม่ๆมากมาย ในปัจจุบัน
และที่สำคัญยังเป็นมาตราฐานในการใช้หมายเลขเสื้อกำหนดตำแหน่งต่างๆของนักฟุตบอลในทีม
ถึงแม้หมายเลขเสื้อเหล่านี้บางตำแหน่งอาจจะใช้แตกต่างกันไปบ้างในบางประเทศเช่นในแทบอเมริกาใต้ อาจจะมีการสลับกันบ้างเล็กน้อย แต่หมายเลขหลักๆอย่าง เบอร์ 9 กองหน้าตัวเป้า เบอร์ 10 กองหน้าตัวต่ำ เบอร์ 8 กองกลาง box to box และเบอร์ 1 ผู้รักษาประตู แทบจะเหมือนกันโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นเพราะการพัฒนาฟุตบอลในแต่ละประเทศไม่ได้ตรงกับทางยุโรปไปทั้งหมด
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นคงทำให้เพื่อนๆได้เข้าใจว่า แม้นักฟุบอลจะสวมเสื้อเบอร์อื่น ที่สูงกว่าเบอร์ 11 แต่ถูกเรียกด้วยเบอร์อื่น 1-11 ที่ไม่ตรงกับหมายเลขเสื้อที่ใส่ ก็ขอให้เข้าใจว่าเบอร์ที่ถูกใช้เรียกนั้น เป็นเบอร์ประจำตำแหน่งของการเล่นฟุตบอลนั้นเอง
สุดท้ายก็หวังว่าเพื่อนๆจะดูฟุตบอลได้สนุกมากขึ้น และเข้าใจมากขึ้น หากเป็นดูผ่านรายการถ่ายทอดสดที่มีการพากษ์ หรือ วิเคราะห์วิจารณ์ ทั้งก่อนและหลังเกมส์การแข่งขัน
สนใจลงบทความกับ gettythailand เพื่อประชาสัมพันธ์ ธุรกิจ / กิจการ / ห้างร้าน / ของคุณสามารถf^รายละเอียดได้ที่ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่อีเมล์ info.gettythailand@gmail.com
สามารถส่งข้อมูลข่าวสาร เรื่องราวดีๆที่น่าสนใจที่ท่านต้องการ แบ่งปันกับเราได้ที่
e- mail : info.gettythailand@gmail.com หรือ info.dmithailand.com
และแอปพิเคชั่น line : Gettythailand
ติดตามบทความใหม่ๆ และเรื่องราวน่าสนใจของเราได้ที่
website : gettythailand.com
Instragram : gettythailand
Twitter : @gettythailand
Facebook : gettythailand
Gettythailand ยินดีเป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสารเพื่อสาธารณะ เพื่อชุมชม แก่หน่วยงานราชการ ศาสนสถาน สถานศึกษาของรัฐ และหน่วยงานที่ไม่แสวงผลกำไร โดยสามารถส่งข้อมูลที่ต้องการประชสัมพันธ์มายังที่อยู่อีเมล์ด้านบน