วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี

วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี ไหว้พระ 9 วัด gettythailand

วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี ไหว้พระ 9 วัด

พระอุโบสถเก่าของวัดหน่อพุทธางกูร สันนิฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนปลาย เนื่องจากมีลักษณะฐานแอ่นโค้งแบบเรือสำเภาตามแบบนิยมในสมัยอยุทธยา

วัดหน่อพุทธางกูร จังหวัดสุพรรณบุรี

วัดหน่อพุทธางกูร สร้างขึ้นสมัยใดไม่มีปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัด ชาวบ้านต่างเล่าลือสืบต่อกันมาว่า ชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทร์ เมื่อคราวกบฏเจ้าอนุุวงศ์ พ.ศ.2369 ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ และได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นในบริเวณที่มีฐานพระอุโบสถเก่าอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่สามารถสืบหาได้ว่าสำนักสงฆ์นี้สร้างขึ้นเมื่อใด

ต่อมาข้าหลวงในสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 นาวว่าขุนพระพิมุข ได้มาสร้างให้กลายเป็นวัดขึ้นและให้ชื่อว่า “วัดมะขามหน่อ” จนกระทั่งในสมัย พระครูสุวรรณวรคุณ (คำ จทรโชโต) เป็นเจ้าอาวาส จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหน่อพุทธางกูร

พระสิงห์สามสารชนะมาร

พระสิงห์สามสารชนะมาร วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี ไหว้พระ 9 วัด gettythailand

พระสิงห์สามสารชนะมาร เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นจากการสานด้วยไม้ไผ่ ซึ่งมีเพียง 2 องค์ในประเทศไทย อีกองค์หนึ่งอยู่ที่จังหวัดเชียงราย คือของวัดหิรัญญาวาส อุทยานเวฬุวัน ซึ่งเป็นพระสิงห์สานชนะมารที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีหน้าตักกว้างถึง 9.9 ศอก ส่วนพระสิงห์สามสารชนะมารของวัดหน่อพุทธางกูรนี้ มีหน้าตักกว้าง 3 ศอก สูง 4 ศอก

การสร้างพระสิงห์สานชนะมาร (พระสานไม้ไผ่)

เป็นการรวมแรงรวมใจของคนในชุมชน สร้างความสามัคคีผ่านการ สานตอกไม้ไผ่ ให้เป็นพระพุทธรูป เป็นการดัดแปลงภูมิปัญญาท้องถิ่นในการประดิษฐ์ข้าวของเครื่องใช้จากวัสดุธรรมชาติที่มีมากในพื้นที่ คือไม้ไผ่ ให้เป็นงานพุทธศิลป์ ตอกทุกเส้นนั้นจึงเต็มไปด้วยพลานุภาพของแรงศรัทธา ความสมัครสมานสามัคคีของชุมชน จึงเกิดเป็นความขลัง และเป็นศูนย์รวมใจของผู้คนในท้องถิ่น

ซึ่งพอจะสรุปวัตถุประสงค์เป็นข้อๆได้ดังนี้

  1. เพื่อจรรโลงสิบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป
  2. เพื่ออนุรักษ์และสืบสานงานประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามให้อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป
  3. เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ฝากไว้ในแผ่นดิน
  4. เพื่อสร้างมรดกอันล้ำค่าของโลก
  5. เพื่อเป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน
  6. เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประเทศไทย

พระสิงห์สามสานชนะมาร วัดหน่อพุทธางกูร เป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก พุทธลักษณะเป็นแบบเชียงแสน องค์พระหลังจากสานเสร็จแล้วได้ทาด้วยน้ำยางรัก มีลักษณะเป็นสีดำ เพื่อเป็นการรักษาเนื้อไม้ให้อยู่คงทนถาวรยาวนาน และปิดทองทั้งองค์พระ

พระสิงห์สามสานชนะมาร เริ่มลงมือสานเมื่อ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 จนมาเสร็จสมบูรณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 รวมระยะเวลาในการจัดสาน 5 เดือน (ไม่รวมขั้นตอนการจัดเตรียมหาวัสดุในการสาน) ด้วยความร่วมแรงร่วมใจอันแรงกล้าของชาวบ้านในหมู่บ้านเกาะช้าง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา

ไม้ไผ่มุง

ไม้มุงมีถิ่นกำเนิดจากดอย เมืองโก อำเภอท่าขี้เหล็ก จังหวัดเชียงตุง ประเทศพม่า การตัดและนำลงมาจากยอดดอยสูงนั้น ลำบากมากต้องใช้เวลาในการเดินทางไป-กลับถึง 6 วัน เนื่องจากระยะทางและสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งถนนหนทางยังเป็นทางขรุขระ จึงต้องขอแรงจากชาวปะหล่อง ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่บนดอยนี้ร่วมร้อยกว่าคนช่วยกันนำไม้ไผ่ลงมาจากยอดเขา ซึ่งนับเป็นจิตศรัทธาอย่างแรงกล้าของชาวปะหล่องที่อยู่บนภูเขาสูง

ไม้ไผ่มุงที่นำมาทำองค์พระนี้ต้องตัดเดือนสามไทย หรือเดือนกุมภาพันธ์ และจะตัดได้เพียงวันเดียวให้เสร็จในวันนั้น ในรอบ 1 ปี จะทำพิธีตัดได้เพียงครั้งเดียว และคนจัดจะต้องสมาทานศีล ๘ พร้อมกับงดเว้นการทานเนื้อสัตว์ และห้ามนำอาหารที่มีเนื้อสัตว์ทุกชนิดเข้าในบริเวณภูเขาลูกนั้นโดยเด็ดขาด จึงนำมาจักสานได้

ความเชื่อ-อานิสงส์  ในการสร้างพระสิงห์สามสานชนะมาร ความเชื่อตามโบราณ ผู้ใดได้สร้างพระนี้ด้วยตนเองหรือร่วมกันสร้างเพื่อเป็นพุทธบูชานั้น จะบังเกิดอานิสงส์มากมายดังนี้

  1. พระสิงห์สานเป็นพระแห่งความรัก เนื่องจากใช้ยางของต้นรักมาทาองค์พระ หากหนุ่มสาวคู่ใดได้สักการะบูชา จะรักกันยาวนานตลอดไป
  2. ด้วยอานิสงส์แห่งการได้ใช้ไม้มุงมาทำพระทั้งองค์ จะบังเกิดผล คือ อานุภาพปกคลุมรักษาตระกูลและตนเองให้อยู่รอดปลอดภัยจากอันตราย อุบาทจัญไร ที่จะเกิดขึ้นทั้งปวง
  3. จะเกิดความโชคดี บารมีสูงส่ง จะเป็นเจ้าคนนายคนมีข้าทาสบริวารผู้รับใช้ที่ซื่อสัตย์สุจริตมากมาย
  4. จะสานต่อฐานะมั่งคั่ง มั่นคงทรัพย์สินให้มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีวันหมด
  5. จะสานต่อกิจการร้านค้า ธุรกิจ ให้เจริญงอกงาม เพิ่มพูน ไพบูลย์ ทวีคูณร้อยเท่าพันเท่า
  6. จะสานต่อเงินทองไม่ให้ขาดมือ
  7. จะสานต่อตระกูลเพิ่มพูนให้ตระกูลสูงส่ง เป็นที่เชิดหน้าชูตาลูกหลานเป็นคนดี ว่าง่ายสอนง่าย เป็นที่ยอมรับของสังคม

พระอุโบสถเก่า

โบสถ์เก่า วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี เที่ยวเมืองสุพรรณ ไหว้พระ 9 วัด

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอุโบสถ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูนขนาด 3 ห้อง ด้านหน้าพระอุโบรถมีมุขยื่นออกมามีเสารองรับ 4 ต้น หน้าบันและส่วนประดับต่างๆ เป็นไม้จำหลักที่งดงามมาก หลังคามุงกระเบื้องดินเผาปลายมน ฐานอาคารแอ่นโค้งลงแบบท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นรูปแบบลักษณะของสถาปัตยกรรมที่นิยมในสมัยอยุทธยาตอนปลาย จึงสันนิฐานได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุทธยาตอนปลายนี้เอง

พระประธานโบสถืเก่า วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี เที่ยวเมืองสุพรรณ ไหว้พระ 9 วัด

พระประธานอุโบสถหลังเก่าวัดหน่อพุทธางกูร เมื่อเข้ามาด้านในจะเห็นพระประธานประดิษฐานบนฐานยกสูงขึ้นไป  ด้านหลังองค์พระประธานจะเห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเทพชุมนุมและพระเจดีย์จุฬามณี เก่าแก่มากและเลือนหายไปหลายส่วนเหมือนกับภาพจิตรกรรมฝาผนังอีก 4 ด้าน ภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถหลังเก่าวัดหน่อพุทธางกูร ด้านในประกอบด้วยภาพพระพุทธประวัติ ทศชาติชาดก พระเจดีย์จุฬามณี เทพชุมนุม และเรื่องราวในไตรภูมิ ซึ่งเป็นที่นิยมโดยทั่วไปในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ภาพจิตรกรรมเหล่านี้ซึ่งเขียนโดยนายคำ ช่างเขียนภาพจิตรกรรมชาวเวียงจันทร์ ที่ถูกกวาดตอนมาสมัยกบฏเจ้าอนุวงศ์ นายคำมีพี่น้องอยู่ด้วยกัน 3 คนแต่ได้พลัดพรากจากกัน เมื่อเข้ามาอยู่เมืองไทยนายคำอาศัยอยู่ในกรุงเทพ และในฐานะที่เคยเป็นช่างเขียนมาก่อน จึงถูกเกณฑ์ให้ไปเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดสุทัศน์

เมื่อเขียนภาพที่วัดสุทัศน์เสร็จเรียบร้อยแล้ว นายคำจึงพยายามออกติดตามหาพี่น้องของตนที่มาจากเวียงจันทร์ด้วยกัน และได้ข่าวว่าพี่น้องของตนอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้เดินทางมาหาและพบกันที่ตำบลพิหารแดง จังหวัดสุพรรณบุรี

พอดีกับที่ขณะนั้นชาวบ้านวัดมะขามหน่อได้ก่อสร้างพระอุโบสถแล้วเสร็จจะเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง นายคำจึงรับอาสาเขียนให้ และให้นายเทศ ลูกเขยที่กรุงเทพมาช่วยเขียนด้วยอีกคนหนึ่ง

เมื่อดำเนินการเขียนภาพเสร็จแล้วนั้น นายคำยังได้ไปเขียนภาพที่พระอุโบสถของวัดประตูสาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย

ภาพจิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่ สมัยรัชกาลที่ 3

ภาพจิตรกรรม วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี เที่ยวเมืองสุพรรณ ไหว้พระ 9 วัด

ภาพจิตรกรรมฝาผนังของพระอุโบสถวัดหน่อพุทธางกูร หรือวัดมะขามหน่อ (ชื่อในขณะนั้น) เป็นภาพจิตรกรรมไทยแบบ 2 มิติ ระบายสีเรียบแล้วตัดเส้น เนื้อเรื่องที่เขียนเป็นเรื่องราวของพระพุทธศาสนา ทั้งทศชาติ ทั้งพุทธประวัติ เป็นต้น

ภาพจิตรกรรมด้านหน้าโบสถ์ วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี เที่ยวเมืองสุพรรณ ไหว้พระ 9 วัด

ภาพจิตรกรรมมีทั้งด้านในและด้านนอกพระอุโบสถ ด้านนอกบริเวณซุ้มประตูพระอุโบสถนั้นมีเทคนิคประติมากรรมปูนปั้นผสมอยู่ด้วย มีเรื่องราวที่น่าสนใจอยู่ก็คือภาพจิตรกรรมด้านหน้าพระอุโบสถนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ผนังด้านขวาเป็นผนังเปล่ามีภาพร่างด้วยดินสอดำ ชาวบ้านต่างก็ถกเถียงกันนว่าเป็นเพราะเหตุใด ช่างจึงเขียนไม่แล้วเสร็จทั้งที่ นายดำก็ได้ไปเขียนภาพให้วัดประตูสารต่อ มีความเป็นไปได้อยู่ 2 ทฤษฎีคือ

  1. นายดำได้ไปเขียนภาพที่วัดประตูสารก่อน เสร็จแล้วจึงมาเขียนภาพที่วัดมะขามหน่อ แต่มีเหตุให้เขียนภาพไม่แล้วเสร็จ
  2. นายดำเขียนภาพภายในอุโบสถเสร็จแล้ว จึงไปเขียนภาพที่วัดประตูสาร ส่วนภาพด้านหน้ามีการวาดเพิ่มเติมภายหลังแต่ช่างเขียนไม่เสร็จ

ปูชนียบุคคล หลวงปู่คำ จันทโชโต

“พระครูสุวรรณวรคุณ” หรือ “หลวงปู่คำ จันทโชโต” อดีตเจ้าอาวาสวัดหน่อพุทธางกูร เป็นหนึ่งในสุดยอดคณาจารย์เมืองสุพรรณที่เชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนโบราณมาก เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อปิ่น วัดหน่อพุทธางกูร, หลวงพ่อทองหยด วัดชีสุขเกษม สมัยที่มีชีวิตอยู่เป็นพระเถราจารย์ที่ชาวบ้านในตำบลนั้นรวมไปถึงชาวตลาด จังหวัดสุพรรณบุรี มีความเคารพนับถือมากรูปหนึ่ง เพราะท่านเป็นพระที่สันโดษ มักน้อย มีความเมตตาปรานีสูงยิ่ง 

หลวงปู่คำ จนทรโชโต วัดหน่อพุทธางกูร ไหว้พระ 9 วัด สุพรรณบุรี gettythailand

หลวงพ่อคำ จันทโชโต วัดหน่อพุทธางกูร
ท่านเกิดเมื่อวันที่ 30 พ.ค.2430 เวลา 19.19 น.โดยประมาณ ตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน ร.ศ.106 ณ บ้านพิหารแดง หมู่ 1 ต.พิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ห่างจากตัวจังหวัดขึ้นไปทางทิศเหนือตามลำน้ำท่าจีนประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างจากวัดหน่อพุทธางกูรราว 27 เส้นเศษ เป็นบุตรจีนฮั้ว แซ่ตัน หรือแซ่ตั้ง มารดาชื่อจันทร์ มีเชื้อสายเป็นชาวเวียงจันทน์

เมื่ออายุได้ไม่กี่ขวบก็ต้องกำพร้าบิดามารดา และอาศัยอยู่กับน้าชาย ชื่ทอง น้าสาวชื่อหริ่ม จนกระทั่งอายุ 16 ปีจึงบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดมะนาว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันอังคารที่ 8 เม.ย.2445 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระอาจารย์คำตา และอยู่กุฏิเดียวกับพระปลัดบุญมี ซึ่งเป็นญาติกับท่าน พร้อมกับศึกษามูลกัจจายน์และอักขระขอมไทยกับขอมลาว

ครั้นต่อมาญาติของท่านชื่อพระอาจารย์บุญมา บวชอยู่ที่วัดภาวนาภิรตาราม อ.บางกอกน้อย ธนบุรี ได้ชักชวนให้ไปเรียนหนังสือต่อที่วัดแห่งนี้ “พระครูสุวรรณวรคุณ” หรือ “หลวงปู่คำ จันทโชโต” ท่านได้ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและมูลกัจจายน์ กับหนังสือใหญ่ (หนังสือขอม) ด้วยความขยันขันแข็ง 

เมื่ออายุ 21 ปีเต็ม ท่านได้กลับไปอุปสมบทที่วัดนะนาว เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2451 โดยมีพระครูวินยานุโยค วัดอู่ทอง เป็นอุปัชฌาย์ พระปลัดบุญมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระช้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “จันทโชโต” จากนั้นได้จำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาวเรื่อยมา

ต่อมาพระอาจารย์บุญมา ได้กลับมาจำพรรษาและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน่อพุทธางกูร ในราวปี พ.ศ 2452 ได้ชักชวนให้ท่าน มาอยู่ที่วัดหน่อพุทธางกูร (วัดมะขามหน่อในขณะนั้น) เพื่อช่วยพัฒนาวัด เมื่อมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ท่านได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยจนมีความรู้แตกฉานยิ่งขึ้นทั้งพระธรรมวินัย และอักขระขอมไทย-ลาว ตลอดจนขนบธรรมเนียมและแบบแผนอันดีงามสืบต่อติดมาจนเป็นนิสัย จนชาวบ้านแถวนั้นต่างกล่าวขวัญว่า เป็นพระที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก

“พระอธิการบุญมา” กับ “หลวงพ่อคำ” ได้พยายามพัฒนาวัดหน่อพุทธางกูรเรื่อยมาจนวัดเจริญขึ้นตามลำดับ ภายหลังจากที่พระอธิการบุญมาถึงแก่มรณภาพในราวพ.ศ. 2458 คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้หลวงปู่คำ รักษาการแทน เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2458 ขณะมีอายุได้ 28 ปี พรรษาที่ 8 ก่อนที่จะเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2471 อายุได้ 41 ปี พรรษาที่ 21

ผ่านไปอีก 10 ปี ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการศึกษาเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2481 ต่อมาวันที่ 5 ธ.ค. 2498 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ “พระครูสุวรรณวรคุณ” ขณะอายุได้ 78 ปี พรรษาที่ 48

อุปนิสัยใจคอของหลวงปู่คำนั้นเยือกเย็น ถ้าใครได้ไปพบเห็นจะมีความรู้สึกเคารพนับถือขึ้นมาทันที เพราะใบหน้าท่านยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา พูดค่อยและช้า แต่วาจาศักดิ์สิทธิ์มาก ภายในกุฏิของท่าน ของมีค่าหาได้น้อย มีหัวกะโหลกมนุษย์ตั้งอยู่ นอกนั้นเป็นสิ่งหาค่าไม่ได้วางอยู่อย่างไม่เป็นระเบียบ ท่านมีความมักน้อยในจิตใจ แต่มักใหญ่ในการก่อสร้างเสนาสนะ เช่น การสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญคอนกรีต และโรงเรียนประชาบาลจนกระทั่งมรณภาพ

ในด้านการปกครอง ท่านมีปฏิปทาในหลักธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ได้แนะนำสั่งสอนพระภิกษุสามเณร ให้ประพฤติอยู่ในระเบียบวินัยสงฆ์ โดยเฉพาะพระภิกษุสามเณรที่จำพรรษาอยู่ในวัดหน่อพุทธางกูร ไม่ว่าจะบวชนาน หรือบวช 3 เดือน จะต้องศึกษาพระธรรมวินัยและต้องสอบธรรมสนามหลวง

ใครก็ตามที่มาบวชต้องได้รับการอบรมแบบตัวต่อตัวจากท่านทุกรูป เริ่มต้นด้วยการสอนอนุศาสน์ 8 นิสสัย 4 ส่วนมากที่เฝ้าสั่งสอนด้วยใจเป็นห่วงคือ ปาราชิก 4 สอนด้วย การยกอุปมาอุปไมย นอกจากนั้น สอนสังฆาทิเสส นิสสัคคียปาจิตตีย์ ในข้อนี้ชาวพุทธทราบดีว่าหลวงปู่คำไม่ยอมหยิบเงินทองที่เขาถวาย เมื่อท่านไปไหนๆ มีเด็กลูกศิษย์ติดตามท่านไปด้วยหนึ่งคนเสมอ

เมื่อมีงานวัดหน่อพุทธางกูร ต.พิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี “หลวงปู่คำ จันทโชโต” จะ ห้ามเด็ดขาดมิให้ภิกษุสามเณรไปเที่ยวจุ้นจ้านกับฆราวาส อ้างว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ ถึงแม้วัดอื่นมีงาน ท่านก็ไม่อนุญาตให้ไปเที่ยว โดยได้พิมพ์กฎข้อบังคับของวัดใส่กรอบไว้ที่หอสวดมนต์

ในส่วนของวิชาอาคม เชื่อกันว่าท่านได้ไปเรียนเวทมนตร์คาถาและวิปัสสนากรรมฐานจาก หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมกับ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว พระเกจิอาจารย์ดังของเมืองสุพรรณอีกรูปหนึ่ง และมีความเชี่ยวชาญถึงขั้นเล่นแร่แปรธาตุได้

นอกจากนี้ ยังมีความรู้ในทางแพทย์โบราณ รักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยสมุนไพร และเวทมนตร์คาถา รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญในการดูฤกษ์ยามต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลสมรส อุปสมบท ปลูกบ้าน ขึ้นบ้านใหม่ โกนจุก จนกระทั่งปลูกยุ้งข้าว

กิจพิเศษที่พิเศษยิ่งของท่านคือ การรักษาคนที่ถูกสุนัขบ้ากัดอย่างที่เรียกกันว่า “โรคกลัวน้ำ” ความศักดิ์สิทธิ์ในตัวยาของท่านทำให้ชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว โดยในช่วงชีวิตของหลวงปู่คำได้ช่วยชีวิตคนที่ถูกสุนัขบ้ากัดเอาไว้หลายหมื่น คนทีเดียว

“หลวงปู่คำ” สร้างมงคลวัตถุขึ้นหลายอย่าง อาทิ รูปหล่อรุ่นแรก เนื้อทองเหลืองรมดำ ปี 2498 รุ่น 2 เนื้อทองเหลือง ปี 2504, รุ่น 3 เนื้อทองเหลืองรมดำ ปี 2511 เป็นพิมพ์เดียวกับรุ่นแรก แต่ฐานสูงกว่า และตรงฐานมีชื่อท่านอยู่ด้วย, เหรียญรุ่นแรก รูปอาร์ม เนื้อทองแดงรมดำ ปี 2498, รุ่น 2 รูปไข่ ด้านหลังพระประจำวันพุธ (วันเกิดของท่าน) เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และเนื้อฝาบาตรรมดำ ปี 2504, รุ่น 3 รูปไข่ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และเนื้อฝาบาตรรมดำ ปี 2509 ด้านหลังพระประจำวัน 7 วัน, รุ่น 4 ปี 2511, รุ่น 5 ปี 2513

นอกจากนี้ ยังมีพระเครื่องเนื้อดิน เนื้อว่าน เนื้อผง และผงใบลานเผา อีกหลายพิมพ์ เช่น พระ พิมพ์นาคปรกเศียรแหลม ปี 2498, พระพิมพ์ท้าวชมพูบดี ปี 2498, พระผงสุพรรณหลังยันต์ ปี 2504, พระชินราชใหญ่-เล็ก ปี 2498, พระพิมพ์ซุ้มกอ, พิมพ์ยันต์อุ, พิมพ์นางกวัก เป็นต้น

พระเครื่อง ของท่านทุกรุ่นมีประสบการณ์ดังในด้านแคล้วคลาด ปลอดภัย ยิงไม่ออก ฟันแทงไม่เข้า ทำให้บางรุ่นหายากมาก โดยเฉพาะรูปหล่อรุ่นแรก ไม่มีใครใครอยากปล่อย เพราะถือว่า “มีพระหลวงพ่อคำในครอบครองแล้วไม่ตายโหง”

ลูกศิษย์ที่เป็นฆราวาสของท่านมีอยู่หลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ พระเอกยอดนิยม “มิตร ชัยบัญชา” ซึ่งให้ความเคารพนับถือท่านมากครับ เมื่อครั้งที่ มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิต ท่านได้เล่าให้ศิษย์ฟังว่า วันที่มิตรเสีย ไม่ได้ห้อยพระของท่าน ไม่งั้นคงไม่ตาย นอกจากนี้ ยังมี “สุรพล สมบัติเจริญ” ราชาเพลงลูกทุ่งไทย คนบ้านวัดไชนาวาสที่ให้ความนับถือท่าน และฝากตัวเป็นลูกศิษย์ตั้งแต่สมัยที่หลวงปู่คำยังไม่โด่งดังเลย

วาระสุดท้าย หลวงปู่คำมรณภาพเมื่อวันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2513 เวลา 17.43 น. ตรงกับแรม 5 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา สิริอายุ 83 ปี โดยจัดงานพระราชทานเพลิงศพท่านเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2514 ในงานมีพระเกจิอาจารย์มากันมากมายหลายองค์ รวมทั้งลูกศิษย์ลูกหาประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธา ก็มากันล้นหลามชนิดที่ว่าแน่นศาลาวัดจนต้องลงมาอยู่ข้างล่างกันเลย แสดงให้เห็นถึงบารมีอันสูงส่งของหลวงปู่คำ

พระประจำวันทรงเครื่องกษัตริย์

พระประจำวันของวัดหน่อพุทธางกูรแตกต่างจากวัดอื่นทั่วไป คือพระประจำวันของวัดซึ่งตั้งประดิษฐานในพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องของกษัตริย์มีเครื่องทรงที่มีลวดลายวิจิตรงดงาม โดยพระประจำวันมีปางต่างๆดังนี้

  • พระประจำวันอาทิตย์ ได้แก่ ปางถวายเนตร
  • พระประจำวันจันทร์ ได้แก่ ปางห้ามญาติ หรือ ห้ามสมุทร
  • พระประจำวันอังคาร ได้แก่ ปางโปรดอสุรินทราหู หรือ ปางไสยาสน์ หรือ ปางปรินิพพาน
  • พระประจำวันพุธ (กลางวัน) ได้แก่ ปางอุ้มบาตร
  • พระประจำวันพุธ (กลางคืน) ได้แก่ ปางป่าเลไลยก์
  • พระประจำวันพฤหัสบดี ได้แก่ ปางสมาธิ หรือ ปางตรัสรู้
  • พระประจำวันศุกร์ ได้แก่ ปางรำพึง
  • พระประจำวันเสาร์ ได้แก่ ปางนาคปรก

วัตถุมงคลวัดหน่อพุทธางกูร

“หลวงปู่คำ” สร้างมงคลวัตถุขึ้นหลายอย่าง อาทิ รูปหล่อรุ่นแรก เนื้อทองเหลืองรมดำ ปี 2498 รุ่น 2 เนื้อทองเหลือง ปี 2504, รุ่น 3 เนื้อทองเหลืองรมดำ ปี 2511 เป็นพิมพ์เดียวกับรุ่นแรก แต่ฐานสูงกว่า และตรงฐานมีชื่อท่านอยู่ด้วย, เหรียญรุ่นแรก รูปอาร์ม เนื้อทองแดงรมดำ ปี 2498, รุ่น 2 รูปไข่ ด้านหลังพระประจำวันพุธ (วันเกิดของท่าน) เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และเนื้อฝาบาตรรมดำ ปี 2504, รุ่น 3 รูปไข่ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และเนื้อฝาบาตรรมดำ ปี 2509 ด้านหลังพระประจำวัน 7 วัน, รุ่น 4 ปี 2511, รุ่น 5 ปี 2513

นอกจากนี้ ยังมีพระเครื่องเนื้อดิน เนื้อว่าน เนื้อผง และผงใบลานเผา อีกหลายพิมพ์ เช่น พระ พิมพ์นาคปรกเศียรแหลม ปี 2498, พระพิมพ์ท้าวชมพูบดี ปี 2498, พระผงสุพรรณหลังยันต์ ปี 2504, พระชินราชใหญ่-เล็ก ปี 2498, พระพิมพ์ซุ้มกอ, พิมพ์ยันต์อุ, พิมพ์นางกวัก เป็นต้น

พระเครื่อง ของท่านทุกรุ่นมีประสบการณ์ดังในด้านแคล้วคลาด ปลอดภัย ยิงไม่ออก ฟันแทงไม่เข้า ทำให้บางรุ่นหายากมาก โดยเฉพาะรูปหล่อรุ่นแรก ไม่มีใครใครอยากปล่อย เพราะถือว่า “มีพระหลวงพ่อคำในครอบครองแล้วไม่ตายโหง”

เที่ยว วัดหน่อพุทธางกูร จังหวัดสุพรรณบุรี

  • วัดหน่อพุทธางกูร ได้เปิดให้ประชาชนเข้ากราบไหว้ เวลา 08.00-17.00 น. ของทุกวัน
  • ค่าบูชาดอกไม้ ธุปเทียน ทอง ตามกำลังศรัทธา
  • ห้ามปิดทองหลวงพ่อพระสิงห์สานชนะมาร
  • ตู้บริจาคเพื่อบำรุงวัดและสาธารณะกุศลต่างๆ ตามกำลังศรัทธา ตู้บริจาคเป็นตู้เซฟอย่างดี
  • เหมาะสำหรับ ทั้งกิจกรรมครอบครัว หมู่คณะ หรือจะมากับคนรู้ใจก็ได้เช่นกัน
  • เยี่ยมชมโบสเก่าสมัยกรุงศรีอยุทธยาตอนปลาย
  • ชมภาพจิตรกรรมทศชาติ เก่าแก่ สมัยรัชกาลที่ 3
  • ให้อาหารปลาในสระ

แผนที่และการเดินทาง

“นอกจากนี้วัดพระลอยห่งนี้ ยังเป็นวัดในเส้นทางถนนสายบุญ ไหว้พระ 9 วัด ยอดฮิตของจังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย สามารถไหว้พระ 9 วัดในระยะทางเพียงประมาณ 6 กิโลเมตรเท่านั้น”

เส้นทางไหว้พระ 9 วัด ยอดนิยมของ จังหวัดสุพรรณบุรี

บริการนำเที่ยวไหว้พระ 9 วัด แบบหมู่คณะไม่เกิน 10 คน ราคาเริ่มต้นท่านละ 400 บาท (ไม่รวมค่าอาหาร)
วันเดียวเที่ยวสุพรรณ ไหว้พระ 9 วัด
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 09-9204-2940

ข้อมูลพื้นฐาน สุพรรณบุรี

ความเป็นมาที่ชื่อว่า สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่มีหลักฐานประวัติศาสตร์มายาวนาน เป็นเมืองโบราณ มีการสันนิฐานว่า มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 – 3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่ สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี ศรีวิชัย
สุพรรณบุรี เดิมมีชื่อ “ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ “พันธุมบุรี”

ต่อมาพระเจ้ากาแต ได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า”เมืองสองพันบุรี”

ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกวา “อู่ทอง” จวบจนสมัย “ขุนหลวงพะงั่ว” เมืองจึงถูก เรียกว่าชื่อว่า “สุพรรณบุรี” นับแต่นั้นมา

สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรีไหลผ่านตามแนวยาวของจังหวัดจากเหนือจรดใต้  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5,358.01 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 3.3 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.2 ของพื้นที่ภาคกลางอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 107 กิโลเมตร (ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340) โดยทางรถไฟประมาณ 142 กิโลเมตร

แดนยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้น เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง

หน้าองค์ดอนเจดีย์ 6 โมงเช้า สุพรรณบุรี เที่ยวเมืองสุพรรณ gettythailand
บรรยากาสหน้าองค์อนุสรย์ดอนเจดีย์ ยามเช้า ประมาณ 06.00 น.

ที่เที่ยวอื่นๆในสุพรรณ

วัดสว่างอารมณ์ เที่ยว สุพรรณบุรี ไหว้พระ 9 วัด

กราบหลวงพ่อหลี ไหว้หลวงพ่อชอบ ขอพรย่าคะเคียน อิ่มบุญอิ่มใจโรงทาน วัดสว่างอารมณ์ ไหว้พระ 9 วัด ถนนสมภารคง สุพรรณบุรี เที่ยวไหว้พระ สุขใจ

วัดชีสุขเกษม ไหว้พระ 9 วัด สุพรรณบุรี

วัดชีสุขเกษม กราบหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ อายุราว 1000 ปี ไหว้แม่ชีสุขเกษม ผู้ก่อตั้งสร้างวัด ตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนปลาย ขอพรสิ่งใดได้สมหวังสุขเกษมยินดี

เที่ยววัดพิหารแดง สุพรรณบุรี

วัดพระนอน จ.สุพรรณบุรี ไหว้พระไสยาสน์ปางปรินิพพานหินศิลาเก่าแก่ ไหว้เจ้าแม่กวนอิม อุทยานมัจฉาเลี้ยงปลาท่าน้ำหน้าวัด วัดที่ 6 เส้นทางสายบุญไหว้พระ 9 วัดเมืองสุพรรณ

วัดพระนอน สุพรรณบุรี พระนอนหงาย

วัดพระนอน จ.สุพรรณบุรี ไหว้พระไสยาสน์ปางปรินิพพานหินศิลาเก่าแก่ ไหว้เจ้าแม่กวนอิม อุทยานมัจฉาเลี้ยงปลาท่าน้ำหน้าวัด วัดที่ 6 เส้นทางสายบุญไหว้พระ 9 วัดเมืองสุพรรณ

วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี

กราบพระสิงห์สามสารชนะมาร ทำบุญสะเดาะห์เคราะห์ต่อชะตาพระพุทธรูปประจำวันเกิดทรงเครื่อง เที่ยวชมโบสถ์เก่าและงานจิตรกรรมโบราณ สมัย รัชกาลที่ 3

วัดพระลอย ไหว้พระทำบุญ อุทยานมัจฉา

วัดพระลอย กราบหลวงพ่อพระลอยพระนาคปรกศักดิ์สิทธิ เมืองสุพรรณบุรี กราบหลสงพ่อแต้มเกจิดังยันต์เกราะเพชร ทำบุญต่อชะตา เลี้ยงปลาเลี้ยงเต่า ชมตลาดชุมชน เดินสายไหว้พระ 9 วัด

วัดสารภี เที่ยวสุพรรณบุรี

วัดสารภี วัดที 3 ถนนสายบุญเมืองสุพรรณบุรี เที่ยวไหว้พระเก้าวัด กราบพระพุทธมงคลมุนี ท้าวเวสสุวววณ ขอพรองค์อินทร์ ลอดท้องช้างเอราวัณ สะเดะเคราะห์ โรคภันไข้เจ็บ ต่อชะตาต่ออายุ

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี พระผงสุพรรณ เบจภาคีพระเครื่องไทย

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระผงสุพรรณนามระบือลือเลื่อง ชมพระปรางค์เมืองเก่า แหล่งบุญเส้นทางไหว้พระ 9 วัด วันเดียวเที่ยวสุพรรณ