เที่ยววัดพิหารแดง สุพรรณบุรี

วัดพิหารแดง ไหว้พระ 9 วัด สุพรรณบุรี เที่ยววัดสุพรรณบุรี

วัดพิหารแดง สุพรรณบุรี ไหว้พระ 9 วัด

วัดพิหารแดง  ต.พิหารแดง เป็นวัดลำดับที่ 7 ตามเส้นทางมหามงคลไหว้พระ 9 วัดโบราณ ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือแม่น้ำท่าจีน ภายในวัดพิหารแดงมีพระประธานองค์ใหญ่ในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุ 700 ปี สร้างในสมัยอู่ทองตอนปลาย นามว่าพระพุทธทศพลญาณมหามุนี

เนื้อหา

วัดพิหารแดง จังหวัดสุพรรณบุรี

วัดพิหารแดง ไหว้พระ 9 วัด สุพรรณบุรี เที่ยววัดสุพรรณบุรี

ความเป็นมาของชื่อวัดพิหารแดง สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทหารเอกชื่อ พระเทพราชา พื้นเพเป็นคนบ้านโพธิ์หลวง ซึ่งบ้านโพธิ์หลวงมีการปลูกหมากและพลูเป็นจำนวนมาก และมีการส่งไปยังเมืองหลวงในวังอีกด้วย ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า “พลูหลวง” และใช้เรียกกันเรื่อยมา

และกาลต่อมา พระเทพราชา ได้ขึ้นครองราชเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงเรียกว่า ราชวงศ์บ้านพลูหลวง ครั้งนั้นค้นพบวิหารในบริเวณใกล้บ้านพลูหลวง ได้มีปรับปรุงบูรณะโดยใช้สีแดงเป็นหลักเพื่อเป็นอนุสรณ์และตั้งชื่อว่า วัดวิหารแดง แต่ชาวบ้านคนพื้นถิ่นสุพรรณบุรีมักนิยมใช้คำว่า พิหาร มากกว่าคำว่า วิหาร  ซึ่งมีความหมายเมือนกัน  จึงได้กลายเป็นชื่อ “วัดพิหารแดง” และใช้เป็นชื่อเรียกตำบล พิหารแดง ด้วยในกาลนั้นเป็นต้นมา

โดยปกติ วิหาร และพิหาร จะหมายถึง บริเวณ อาณาเขต ที่พำนัก ที่อยู่ของพระสงฆ์ ซึ่งก็คือหมายถึงวัดนั้นเอง หรือถ้าจะระบุเฉพาะเจาะจงลงไปก็คือ ที่พำนักของพระภิกษุ หรืออาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูป สำคัญ เป็นต้น ดังจะสังเกตุได้จากในเขตพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ จะมีการสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป และเป็นที่จำพรรษาของพระภิกษุสำคัญในสมัยนั้นๆ เพื่อสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศล เป็นต้น

พระพระพุทธทศพลญาณมหามุนี

พระทศพลญาณมหามุนี วัดพิหารแดง เที่ยว ไหว้พระ 9 วัด สุพรรณบุรี เที่ยวัดสุพรรณบุรี

พระพุทธทศพลญาณมหามุนี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัดพิหารแดง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอู่ทองตอนปลาย อายุประมาณ 700 ปี ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถของวัดพิหารแดง

ลักษณะพุทธศิลปพระพุทธทศพลญาณมหามุนี

  1. พระพุทธรูปปางมารวิชัย
  2. ศิลปะสมัยอู่ทอง ตอนปลาย

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

มารวิชัย (มาระวิชัย) หรือ ชนะมาร หรือ มารสะดุ้ง เป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้

พุทธประวัติ ปางมารวิชัย

พระบรมโพธิสัตว์ (พระพุทธเจ้าก่อนบรรลุธรรม) ได้เสด็จไปประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ในเวลาเย็น และนั่งสมาธิกำหนดจิตเจริญสมาธิภาวนา ท้าววสวัตตีซึ่งคอยติดตามพระองค์อยู่ จึงเข้าขัดขวาง โดยขี่ช้างคิรีเมขละ นำเหล่าเสนามารจำนวนมากเข้ามารบกวน หวังให้พระองค์เกรงกลัวจะได้ลุกขึ้นเสด็จหนีไป แต่พระองค์ก็ยังประทับนิ่งเป็นปกติโดยมิได้ทรงหวั่นไหว มารจึงโกรธมาก สั่งให้เสนามารกลุ้มรุมกันประหารพระองค์ พระองค์จึงทรงนึกถึงบารมี 10 ทัศ ที่ทรงบำเพ็ญสั่งสมมาทุกชาติ โดยทรงเหยียดพระหัตถ์ออกจากภายในกลีบจีวร แล้วทรงชี้แผ่นดินด้วยพระดรรชนี (นิ้วมือ) จนทำให้เกิดแผ่นดินไหว ในที่สุดพญามารยอมแพ้หนีไป

พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง (พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง)

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงคุณค่าของพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองในงาน “เรื่องประติมากรรมไทย” ว่า “ศิลปะอู่ทองมีค่ายิ่งกว่าของอยุธยาและรัตนโกสินทร์ โดยเหตุที่มีแบบวิธีแปลกและมีคุณค่าของศิลปะอู่ทอง เป็นอาการปรากฏดีที่สุดในหมู่สกุลช่างต่างๆ ของพระพุทธปฏิมา

ศิลปะอู่ทองมีลายเส้นคร่ำเคร่งและตึงเครียด และมีลายเส้นขนาดใหญ่ เป็นอาการสำแดงบ่งให้เห็นว่าพระพุทธองค์ยังมีอำนาจแห่งจิตที่จะเอาชนะแก่ โลกีย์ และค้นหาทางหลุดพ้นจากเครื่องร้อยรัดให้ถึงซึ่งวิมุตติ (ความหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง)”

พระพุทธรูปอู่ทองได้เป็น 3 ประเภทได้แก่

สมัยอู่ทองตอนต้น พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 1 หรืออู่ทองหน้าแก่ พบในเขตเมืองสรรคบุรี จ.ชัยนาท มีพระพักตร์เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง เม็ดพระศกคมชัด ความกว้างของพระนลาฏรับกับแนวพระขนงที่ต่อกันคล้ายปีกกา พระหนุป้านเป็นอย่างที่เราเรียกว่า คางคน

สมัยอู่ทองตอนกลาง พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 2 หรืออู่ทองหน้ากลาง จะมีพัฒนาการคลายความเคร่ง ขรึมที่พระพักตร์ลง มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงการค่อยๆ ลดอิทธิพลทางศิลปะแบบขอมลง ตัวอย่างได้แก่ พระเจ้าพนัญเชิง หรือพระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง จ.พระนคร ศรีอยุธยา

สมัยอู่ทองตอนปลาย พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่น 3 หรืออู่ทองหน้าหนุ่ม มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยมากขึ้น พระพักตร์รูปไข่ พระนลาฏแคบ พระวรกายเพรียวบางครั้งพบในลักษณะแข้งคมเป็นสัน เรียกว่า แข้งสัน พบมากในกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)

พระพุทธรูปอู่ทองได้รับการวิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะว่าทรงไว้ซึ่งคุณค่ายิ่งกว่า
พระพุทธรูปสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ เสมอทัดเทียมกับพระพุทธรูปสกุลสุโขทัย และเชียงแสน แต่มีลักษณะในทางตรงกันข้าม เนื่องจากพระพุทธรูปอู่ทองมีทรวดทรงสำแดงไปในทางแข็งกร้าว พระพักตร์ขึงขัง เป็นอาการที่กำลังเพ่งอยู่ในญานแก่กล้า จะสังเกตุได้จากพระพุทธรูปอู่ทองในยุคต้น ๆ
พุทธลักษณะของพระพุทธรูปสกุลอู่ทองส่วนใหญ่ มีลักษณะพระวรกายสูงชลูด พระพักตร์มีไรพระศกเป็นกรอบรอบวงพระพักตร์ พระหนุป้านเป็นรูปคางคน ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ฐานมักเป็นแบบหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเว้าเข้าไปข้างใน พระพุทธรูปส่วนมากมักสร้างเป็นปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ

พระอุโบสถ หลวงพ่อพระทศพลญาณมหามุนี

วัดพิหารแดง ไหว้พระ 9 วัด สุพรรณบุรี เที่ยววัดสุพรรณบุรี

โบสถ์วัดพิหารแดง มีหลวงพ่อพระทศพลญาณมหามุนีเป็นพระประธาน ประดิษฐานอยู่ภายใน สันนิฐานว่าได้รับการปรับปรุงบูรณะครั้งแรกในสมัยพระเพทราชา ครั้งเสด็จขึ้นครองราชเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง โดย ก่อนถูกปล่อยทิ้งร้างคราวเสียกรุงศรีครั้งที่ 2 และได้รับการบูรณะปรับปรุงให้เป็นวัดอีกครั้งเมื่อ พระเดชพระคุณหลวงพ่อปี มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดพิหารแดงแห่งนี้ 

พระทศพลญาณมหามุนี จำลองหน้าโบสถ์วัดพิหารแดง เที่ยว ไหว้พระ 9 วัด สุพรรณบุรี เที่ยวัดสุพรรณบุรี

โดยด้านหน้าโบสถ์มี รูปจำลองพระทศพลญาณมหามุนี ให้ประชาชนที่มากราบไหว้ โดยทางวัดอนุญาติให้จุดธูปเทียนเพื่อสักการะในบริเวณนี้ และสามารถเข้าไปกราบ ชมบารมีหลวงพ่อทศพลญาณมหามุนีองค์จริงด้านในโบสถ์อีกครั้ง

ปูชนียบุคคล หลวงพ่อปี ปัญญาวุโธ

  1. หลวงพ่อปี ปัญญาวุโธ
  2. พระยาโพธิ์หะราช

หลวงพ่อปี ปัญญาวุโธ

หลวงพ่อปีมาพัฒนาวัดพิหารแดง ขณะนั้นทรุดโทรมเหลือเพียงกุฏิเพียงสองหลังเท่านั้น ภายในวัดร้างเต็มไปด้วยป่าใผ่ เมื่อท่านมาถึงวัดพิหารแดง ท่านก็เริ่มพัฒนาอย่างจริงจังโดยไม่หยุดยั้ง การพัฒนาวัดเป็นไปด้วยความราบรื่น จากมีเพียงกุฏิสองหลัง ก็มีเพิ่มขึ้นเป็นหลายหลัง มีศาลาการเปรียญ มีอุโบสถอันสวยงาม และมีโรงเรียนประชาบาลเพื่อสอนกุลบุตรกุลธิดาอีกด้วย

หลวงพ่อปี วัดพิหารแดง

ประวัติ หลวงพ่อปี วัดพิหารแดง 

เกิดปีมะเส็ง พ.ศ.๒๔๒๔ โยมบิดาชื่ออิ่ม โยมมารดาชื่อบุญ นามสกุล อาจพันธุ์ อาชีพทำนา อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ ณ พัทธสีมาวัดพร้าว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โดยหลวงพ่อปลื้ม เป็นพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ประดิษฐ์เป็นคู่สวด หลวงพ่อปีได้ถือว่าเป็นศิษย์ของพระเถราจารย์ผู้ทรงมีวิชาแก่กล้ามากมายหลายท่านดังนี้

  1. หลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว จ.สุพรรณบุรี
  2. เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อสุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
  3. แล้วมาเรียนเพิ่มเติมกับหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อ.เดิมบาง จ.สุพรรณบุรี
  4. เรียนวิชาแพทย์แผนโบราณกับหลวงพ่อจอน วัดพระลอย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
  5. เรียนหนังสือขอมกับอาจารย์คง วัดแค ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

ในขณะที่จำพรรษาอยู่วัดพระลอย โยมมารดาไปนิมนต์หลวงพ่อปีมาพัฒนาวัดพิหารแดง ขณะนั้นทรุดโทรมเหลือเพียงกุฏิเพียงสองหลังเท่านั้น ภายในวัดร้างเต็มไปด้วยป่าใผ่

เมื่อท่านมาถึงวัดพิหารแดง ท่านก็เริ่มพัฒนาอย่างจริงจังโดยไม่หยุดยั้ง การพัฒนาวัดเป็นไปด้วยความราบรื่น จากมีเพียงกุฏิสองหลัง ก็มีเพิ่มขึ้นเป็นหลายหลัง มีศาลาการเปรียญ มีอุโบสถอันสวยงาม และมีโรงเรียนประชาบาลเพื่อสอนกุลบุตรกุลธิดาให้ได้มีความรู้อ่านออกเขียนได้ ชาวบ้านเคารพรักท่านมากอีกท่านเองก็รักษาคนป่วยตามแบบแผนโบราณอีกด้วย

หลวงพ่อปีท่านเป็นพระเกจิอาจารย์เมืองสุพรรณยุคก่อนกึ่งพุทธกาลท่านเป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงดังนี้

  1. หลวงพ่อปุย วัดเกาะ
  2. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
  3. หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย
  4. หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร
  5. หลวงพ่อเซ้ง วัดพร้าว
  6. หลวงพ่อหรุ่น วัดเสาธงทอง

ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้ 2 ประเภท ซึ่งนับว่าน้อยมากและหาได้ยากยิ่ง เมื่อปี พ.ศ.2496 คือ
เหรียญทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และพระพิมพ์ดินเผา พิมพ์ พุทธกวัก , นาคปรก , อุปคุต ซึ่งเนื้อละเอียดมากและมีขนาดค่อนข้างเล็ก

พระยาโพธิ์หะราช

สมัยพระนารายณ์ พระยาโพธิ์หะราชเมืองละโว้ ทหารเอกของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งตามประวัติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้สั่งให้พระยาโพธิ์หะราช ไปสร้างวัดชื่อวัดโพธิ์ 3 ต้น ก่อนเปลี่ยนเป็นวัดวิหารแดงในสมัยพระเพทราชา  พระยาโพธิ์หะราช ยังเคยนำศพทหารที่เสียชีวิตจากการรบสมัยนั้นข้ามน้ำไปทำพิธีฌาปนกิจที่วัดสนามชัย กระทั่งพระยาโพธิ์หะราชเสียชีวิตได้นำพระศพมาประกอบพิธีที่วัดโพธิ์ 3 ต้นหรือวัดวิหารแดงแห่งนี้

พระยาโพธฺ์หะราช

เที่ยว วัดพิหารแดง สุพรรณบุรี

  • วัดพิหารแดง ได้เปิดให้ประชาชนเข้ากราบไหว้ เวลา 08.00-18.00 น. ของทุกวัน
  • ค่าบูชาดอกไม้ ธุปเทียน ทอง ตามกำลังศรัทธา
  • ตู้บริจาคเพื่อบำรุงวัดและสาธารณะกุศลต่าง ตามกำลังศรัทธา
  • เหมาะสำหรับ ทั้งกิจกรรมครอบครัว หมู่คณะ

แผนที่และการเดินทาง

“นอกจากนี้วัดพระลอยห่งนี้ ยังเป็นวัดในเส้นทางถนนสายบุญ ไหว้พระ 9 วัด ยอดฮิตของจังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย สามารถไหว้พระ 9 วัดในระยะทางเพียงประมาณ 6 กิโลเมตรเท่านั้น”

บริการรถตู้นำเที่ยวไหว้พระ 9 วัด แบบหมู่คณะไม่เกิน 10 ท่าน ราคาเริ่มต้นท่านละ 400 บาท (ไม่รวมค่าอาหาร)
วันเดียวเที่ยวสุพรรณ ไหว้พระ 9 วัด
สอบถามเพิ่มเติม โทร. 09-9204-2940

ข้อมูลพื้นฐาน สุพรรณบุรี

ความเป็นมาที่ชื่อว่า สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่มีหลักฐานประวัติศาสตร์มายาวนาน เป็นเมืองโบราณ มีการสันนิฐานว่า มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 – 3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่ สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี ศรีวิชัย
สุพรรณบุรี เดิมมีชื่อ “ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ “พันธุมบุรี”

ต่อมาพระเจ้ากาแต ได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า”เมืองสองพันบุรี”

ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกวา “อู่ทอง” จวบจนสมัย “ขุนหลวงพะงั่ว” เมืองจึงถูก เรียกว่าชื่อว่า “สุพรรณบุรี” นับแต่นั้นมา

สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรีไหลผ่านตามแนวยาวของจังหวัดจากเหนือจรดใต้  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5,358.01 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 3.3 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.2 ของพื้นที่ภาคกลางอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 107 กิโลเมตร (ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340) โดยทางรถไฟประมาณ 142 กิโลเมตร

แดนยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้น เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง

หน้าองค์ดอนเจดีย์ 6 โมงเช้า สุพรรณบุรี เที่ยวเมืองสุพรรณ gettythailand
บรรยากาสหน้าองค์อนุสรย์ดอนเจดีย์ ยามเช้า ประมาณ 06.00 น.

ที่เที่ยวอื่นๆในสุพรรณ