วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร สุพรรณบุรี วัดหมายเลข 1 เมืองสุพรรณ

วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี เที่ยวเมืองสุพรรณ gettythailand

วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร สุพรรณบุรี

วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี เป็นวัดเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมือง จ.สุพรรณบุรี ถ้าเมื่อมา จ.สุพรรณบุรี แล้วไม่ได้มากราบสักการะ หลวงพ่อโตแล้วละก็ ก็เหมือนยังมาไม่ถึงเมืองสุพรรณ

การมาเที่ยวเมืองสุพรรณบุรี วัดป่าเลไลย์ มักเป็นชื่อแรก สถานที่แรกเสมอ ที่ผู้คนจะต้องมาเยือน มากราบไหว้ขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล มีโชคมีชัย เดินทางโดยสวัสดิภาพปลอดภัย โดยเฉพาะคนสุพรรณเอง เมื่อจะเดินทางไปไหนใกล้ไกล ต่างที่ต่างถิ่น มักต้องมากราบหลวงพ่อโต อยู่เสมอ

มีหลักฐานพอให้สันนิฐานได้ วัดป่าเลไลยก์ สร้างขึ้นในระหว่างช่วงสมัยอู่ทอง และอาจเก่าจนเลยถึงสมัยลพบุรี โดยไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด แต่จากหลักฐานทางศิลปะ และจารึกในพงศาวดาร ทำให้เชื่อได้ว่ามีอายุไม่น้อยกว่า 1200 ปี จึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2478

โดยวัดป่าเลไลย์มีโบราณสถานสำคัญคือ วิหารหลวงพ่อโต เป็นองค์ประธานของวัด ภายในวิหารเป็นที่ประดิษษฐาน หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลย์ หรือที่ชาวสุพรรณเรียกกันสั้นๆ ติดปากว่า หลวงพ่อโต

วิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี เที่ยวเมืองสุพรรณ gettythailand

ประวัติโดยสังเขป

ประวัติของ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เดิมชื่อวัดลานมะขวิด (ตามจารึกพงศาวดาร) เป็นศาสนสถานที่สำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการยกระดับเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564

มีหลักฐานทาง พงศาวดารเหนือ บันทึกกล่าวไว้ว่า




“พ.ศ. 1706 ขณะนั้นพระเจ้ากาแล เป็นเชื้อมาแต่นเรศน์ หงษาวดี ได้มาเสวยราชสมบัติ แล้วมาบูรณวัดโปรดสัตววัดหนึง วัดภูเขาทองวัดหนึ่ง วัดใหญ่วัดหนึ่ง สามวัดนี้แล้ว จึงให้ มอญน้อย เปนเชื้อมาแต่พระองค์ ออกไปสร้างวัดสนามไชย แล้วมาบูรณวัดพระป่าเลไลยในวัดลานมะขวิด แขวงเมืองพันธุมบุรีนั้น ข้าราชการบูรณวัดแล้ว ก็ชวนกันบวชเสียสิ้นสองพันคน จึงขนานนามเมืองใหม่ชื่อว่าเมืองสองพันบุรี แล้วพระองค์จึงยกนาเปนส่วนสัดวัดไว้ พระองค์อยู่ในสิริราชสมบัติ ๔๐ ปีจึงสวรรคต จุลศักราช ๕๖๕ (พ.ศ. ๑๗๒๔) ขาลเบญจศก”

รัชสมัยของพระเจ้ากาแล อยู่ในช่วงสมัยอาณาจักรลพบุรี แสดงว่าวัดป่าเลไลย์มีการก่อสร้างมาก่อนสมัยของพระองค์ นานจนทรุดโทรมและโปรดให้มีการ บูรณะใน พ.ศ. 1706

เที่ยวสุพรรณ วัดป่าเลไลย์
Credit ภาพ Facebook Page : วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร

การบูรณะปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลยก์

ในอดีต วัดป่าเลไลย์ได้รับการบูรณะใหญ่ถึง 3 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 สมัยพระเจ้า กาแล ปี พ.ศ. 1706 โดย มอญน้อย
ครั้งที่ 2 ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์ อัมรินทร์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา (อยุธยาตอนปลาย) โปรดเกล้าให้ พระยาสีหราชเดโชชัย มาสร้างวิหารวัดป่าเลไลย์
ครั้งที่ 3 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าให้ พระยานิกรบดินทร์ มาบูรณะปฏิสังขร

การบูรณะในครั้งที่ 3 นั้นสืบเนื่องมาจากเมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงผนวช ได้เสด็จธุดงธ์มาที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนมัสการหลวงพ่อโต ทรงพบเห็นวัดป่าเลไลย์รกร้าง เสื่อมโทรม ไม่มีพระสงฆ์ดูแล จำพรรษา ปกครองวัด จึงทรงอธิฐานต่อหลวงพ่อโตว่า หากได้ขึ้นครองราชย์จะมาบูรณะปฏิสังขรณ์ถวาย

และเมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ โปรดเกล้าให้พระยานิกรบดินทร์มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลยก์ โดยขุดคลองตั้งแต่วัดประตูสาร ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณ ล่องแพซุงเข้าไปจนถึงวัดป่าเลไลยก์ สร้างหลังคาข้างละสองชั้น ทำฝาผนังรอบนอก รวมหลังคาพระวิหาร ข้างละ 5 ชั้น

และซ่อมองค์หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลย์ไปพร้อมกันด้วย ทั้งยังสร้างพระพุทธรูปไว้อีก 2 องค์ อยู่ในวิหารเบื้องหน้าหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ทั้งซ้ายและขวา ประดิษฐานตราพระมงกุฏอยู่ที่หน้าบันพระวิหารเป็นเครื่องหมายตราสำคัญ

หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี เที่ยวเมืองสุพรรณ gettythailand

หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี

หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลย์ เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ สูง 23.48 เมตร ฐานกว้าง 11.20 เมตร เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท)

เดิมทีองค์พระประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระหัตถ์ขวาหัก ช่างได้สร้างวิหารครอบ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระหัตถ์ขวา ส่วนทางพระหัตถ์ซ้ายให้มีที่ว่าง ด้านหลังองค์พระสร้างชิดกับผนังวิหารทำให้แข็งแรง นับเป็นความชาญฉลาดของช่างในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง

ร้านดอกไม้ สุพรรณบุรี

มีนักปราชญ์หลายท่านว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งเหมือนอย่างพระพนัญเชิงสมัยแรก ต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่ และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ตามที่นิยมกันในสมัยหลัง โดยพระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุข้างขวาในท่าทรงรับของถวาย ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย

และยังมีหลักฐานลายพระหัตถ์ดังปรากฎที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวินิฉัยไว้ว่า

“พระพุทธรูปป่าเลไลยก์ เป็นของเก่าก่อนวัตถุอื่น ลักษณะทันสมัยอู่ทอง และสร้างเป็นพระพุทธรูปปางแสดงพระธรรมจักรเหมือนอย่างพระประทานที่พระปฐมเจดีย์ มีกุฏิครอบเฉพาะองค์พระ มาสร้างวิหารต่อชั้นหลัง ส่วนองค์พระนั้นเคยชำรุดถึงพระกรหักหาย คนชั้นหลังปฏิสังขรณ์ เมื่อมีความรู้เรื่องพระแสดงปฐมเทศนาสูญเสียแล้วจึงทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ความกล่าวในข้อนี้ยังมีข้อสังเกตด้วยพระกรเล็กกว่ากันเกือบข้างหนึ่ง และซุ้มเดิมที่สร้างวิหารก็ยังปรากฏอยู่”

วัดปาเลไลย์ เที่ยวสุพรรณบุรี

วิหารหลวงพ่อโต

วิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน หลังคา 3 ชั้น สูง 25.50 เมตร กว้าง 23.30 เมตร ยาว 30.10 เมตร สร้างขึ้นในการบูรณะครั้งที่ 2 โดยพระที่นั่งสุยาสน์ อัมรินทร์ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา และมีการบูรณะใหญ่อีกครั้งโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีการขยายพระวิหาร สร้างผนังหนังรอบนอก ออกด้านข้างด้านละ 2 ชั้น รวมหลังคาทั้งหมด 5 ชั้น

รูปจำลองหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี เที่ยวเมืองสุพรรณ gettythailand

องค์หลวงพ่อโต องค์จำลอง

องค์หลวงพ่อโตจำลองที่ให้พุทธศาสนิกชนปิดทองก่อนเข้ากราบหลวงพ่อองค์จริงในพระวิหาร

กราบสักการะหลวงพ่อโต องค์จริง ปิดทองหลวงพ่อโตจำลอง

ในบริเวณวิหารหลวงพ่อโต ได้เปิดให้ พุทธศาสนิกชน และบุคคลทั่วไป กราบสักการะ เข้าเยี่ยมชม พร้อมทั้งปิดทององค์หลวงพ่อจำลอง ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าวิหาร ทางวัดได้จัดเตรียมเครื่องดอกไม้ธูปเทียนไว้ให้บริการ โดยท่านสามารถบริจาคทำบุญได้ตามกำลังศรัทธา ก่อนเข้าไปกราบสักการะชมบารมี ความสวยงามขององค์หลวงพ่อองค์จริงในวิหาร และภายในวิหาร มีตู้รับบริจาค เพื่อกิจกรรมบำรุงพระศาสนา กิจกรรมของสงฆ์ ให้ท่านได้เลือกทำบุญทำทานตามความต้องการตามกำลังศรัทธาเช่นกัน

นอกจากนี้โดยรอบวิหารยังมีกิจกรรมอื่นเพื่อเสริมสร้างกำลังใจ เช่น ตักบาตรพระอรหันต์ 108 ทำบุญวันเกิด ถวายสังฆทาน ทำบุญสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ทำบุญโลงศพไร้ญาติ เป็นต้น

วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี

บริเวณโดยรอบวิหาร หลวงพ่อโต

วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี

กิจกรรมรอบวิหาร หลวงพ่อโต

ปัจจุบัน กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน มีการสร้างระเบียงคด รอบพระวิหาร ภายในระเบียงคด มีภาพจิตรกรรม ตามวรรณคดีพื้นบ้านเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน

ด้านหน้าพระวิหาร มีเจดีองค์ใหญ่แบบมอญ สูง 9 เมตร

ระเบียงคต วัดป่าเลไลย์

ระเบียงคต วัดป่าเลไลยก์ มีจิตรกรรมฝาผนัง วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน

เจดีย์เก่า ทรงมอญอยุธยาตอนปลาย สูง 9 เมตร

พระอุโบสถ วัดป่า สุพรรณ

พระอุโบสถ

พระอุโบสถหลังเดิมเป็นอาคารทรงไทย หลังคามุงกระเบื้อง มีชั้นลดสามชั้น มีมุกเด็ดทั้งหน้าและหลัง ที่หน้าบันแบ่งพื้นที่ตกแต่งเป็นสามตอน ตอนบนเป็นครุฑแสดงถึงพระมหากษัตริย์ ได้ทรงปฏิสังขรทำนุบำรุง มีลายเทพพนมอยู่ตามแนวลาดของจั่วทั้งสองด้าน ถัดลงมาอีกสองชั้นเป็นลายเทพพนมประกอบลายไทยอันวิจิตรบนพื้นสีน้ำเงิน

พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับในบุษบกทรงมงกุฎ เสมาเป็นซุ้มโปร่งย่อทรงเจดีย์ย่อมุมไม้ 12 ตั้งแต่เรือนซุ้มจนถึงฐาน

ประพระธาน อุโบสถ วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี

พระประธานในอุโบสถ วัดป่าเลไลย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ขณะนี้วัดป่าเลไลยก์กำลังก่อสร้างพระอุโบสถใหม่ ขนาดใหญ่ 7 ห้อง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตกแต่งด้วยศิลปประยุกต์ผสมแบบตะวันตก เป็นปูนปั้นเทพยาดา มีความงามน่าชมแปลกตากว่าที่เคยพบเห็นในพระอุโบสถทั่วไป จากลานด้านหน้าวัดนอกจากจะเห็นโบสถ์วิหารการเปรียญซึ่งมีขนาดใหญ่โตโอ่อ่า แล้ว

ยังมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็นอาคารสามชั้นหลังคามุงกระเบื้องทรงไทย ที่ด้านหน้าอาคารมีพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่ การศึกษาพระปริญติธรรมของจังหวัดสุพรรณบุรี นับว่ามีชื่อเสียงเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยอดีตเจ้าอาวาสพระธรรมมหาวีรานุวรรษ ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเกร็ดหรือพระวิบูลเมธาจารย์

หลวงพ่อสะอิ้งหรือพระเทพสุวรรณ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อเกร็ดเช่นกัน ท่านได้ฟื้นฟูสำนักเปรียญวัดสองพี่น้อง เมื่อครั้งดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาสที่นั่น จนมีความเจริญรุ่งเรืองมาก

ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์พระอารามหลวงแห่งนี้ และเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี เมืองที่อุดมไปด้วยนักปราชญ์และบัณฑิตตั้งแต่อดีตกาลกระทั่งปัจจุบัน

วัดป่าเลไลย์ กำลังดำเนินการอุโบสถหลังใหม่

เรือนขุนช้าง

สร้างขึ้นตามวรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่องขุนช้างขุนแผน ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์เรือนไทย แบบคหบดีไว้ ซึ่งนับวันเรือนไทย บ้านทรงไทย จะชำรุดทรุดโทรมลงไปตามการเวลา เนื่องจากเรือนไทยส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากไม้ กาลเวลาผ่านไปย่อมผุพังลงไป ตามยุคตามสมัย และไม่นิยมปลูกสร้างขึ้นมาเพิ่มเติมนัก เพราะไม้ที่เหมาะสำหรับสร้างบ้านเรือนไทย มีราคาแพง และการปลูกสร้างต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญ ซึ่งนับวันก็ยิ่งเหลือน้อยลง ประกอบกับการดูแลรักษาเรือนไทย ให้อยู่ในสภาพสวยงาม ค่อนข้างยุ่งยาก ไม่เหมาะกับสังคมสมัยใหม่ ที่เร่งรีบ ต้องทำงานแข่งกับเวลา

วัดป่าเลไลยก์ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน คือเมื่อขุนแผนเยาว์วัยได้มาบวชเรียนที่วัดนี้ในชื่อว่าเณรแก้ว ความสำคัญของวัดป่าเลไลยก์ตามที่พรรณนาไว้ใน เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนหนึ่งมีดังนี้

ทีนี้จะกล่าวเรื่องเมืองสุพรรณ
จะทำบุญให้ทานการศรัทธา
หญิงชายน้อยใหญ่ไปแออัด
ก่อพระเจดีย์ทรายเรียงรายไป
ยามสงกรานต์คนนั้นก็พร้อมหน้า
ต่างมาที่วัดป่าเลไลยก์
ขนทรายเข้าวัดอยู่ขวักไขว่
จะเลี้ยงพระกะไว้วันพรุ่งนี้……

นอกจากตำนวนวรรณกรรมขุนช้างขุนแผนแล้ว ด้านหน้าเรือนขุนช้าง ยังมีศาลาเล็กๆ ซึ่งภายในศาลามีรูปปั้นตำนานศิลปินถิ่นสุพรรณผู้ล่วงลับ อย่าง ครูสุรพล สมบัตเจริญ และ สายัณห์ สัญญา ตำนานเพลงลูกทุ่งแห่งเมืองสุพรรณ ที่แฟนเพลงได้สร้างเอาไว้เพื่อระลึกถึงและมากราบไหว้บูชาอยู่เป็นนิจ

ศูนย์เช่าบูชาวัตถุมงคล

เมื่อได้กราบไหว้ ขอพรหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมทั้งทำบุญทำทาน เสริมสร้างวาสนาบารมีของท่านแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ให้การสร้างเสริมพลังใจ สร้างความมั่นใจ มั่นคงในการทำกิจการใดๆตามประสงค์ก็คือวัตถุมงคล

ซึ่งวัตถุมงคลของวัดป่าเลไลย์มีอยู่มากมาย หลายรูปแบบ ราคาค่าเช่าบูชาตั้งแต่หลัก 100 จนถึงราคา หลัก 7 หลัก ตามความพอใจของผู้ต้องการเก็บสะสมไว้เป็น พุทธคุณ เป็นบารมีคุ้มภัย เป็นสมบัติให้ลูกให้หลานสืบไป

ศูนย์เช่าบูชาวัตถุมงคลวัดป่าเลไลย์จะอยู่บริเวณด้านหน้า ก็ทางเข้าวิหารหลวงพ่อโต ทั้งเป็นศูนย์ของวัดเอง หรือทั้งเอกชนนักเลงพระมาเช่าสถานที่เปิดร้านวัตถุมงคลไว้ เช่าซื้อหา รับแลกเปลี่ยนกันและกัน

วัตถุมงคลขึ้นชื่อของวัดป่าเลไลย์ จังหวัดสุพรรณบุรี นั้นก็มีตัวอย่างเช่น พระขุนแผน พระมเหศวร เป็นต้น

  • พระขุนแผน
  • พระมเหศวร

ของฝากเมืองสุพรรณ

ก่อนเดินทางกลับหรือไปเที่ยว เยี่ยมชมสถานที่อื่นใน จังหวัดสุพรรณบุรี อย่าลืมแวะเลือกซื้อของฝาก เลือกชิม ของฝากของดีที่ตั้งอยู่รายล้อมข้างวิหารและ ข้างกำแพงด้านลานจอดรถ มีทั้งของกิน ของเล่น แบบโบราณให้เลือกชิม เลือกชม ซื้อไปฝากลูกหลานให้ได้เห็นผ่านหูผ่านตา ว่าสมัยก่อน พ่อแม่ ปู่ยา ตายาย กินแบบนี้ เล่นแบบนี้

ของฝากของดี ขึ้นชั้น ของดีเมืองสุพรรณ นั่นก็คือ ปลาสลิดแดดเดียว รสชาติดี เนื้อนุ่ม ทานกับข้าวสวยร้อนๆ อร่อยอย่าบอกใคร

ที่ตั้ง แผนที่ และการเดินทาง

วัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร ตั้งอยู่บนถนน มาลัยแมน ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
เปิดให้บริการเวลา 07.00 – 17.00 น.

หากท่านไม่ได้เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ท่านสามารถนั่งรถสาธารณะ เพื่อเดินทางมายังตัวจังหวัดสุพรรณบุรี ลงรถโดยสารที่ สถานีขนส่ง จ.สุพรรณบุรี แล้วสามารถนั่งรถรับจ้างสามล้อ หรือมอเตอร์ไซท์รับจ้างตามสะดวก

วัดอยู่ห่างจากสถานีขนส่งประมาณ 3 ก.ม. ราคา 50 บาท โดยประมาณ (ค่าโดยสารจะนำมาอัพเดทให้ทราบอีกครั้ง)

หรือหากต้องการประหยัดค่าโดยสารก็สามารถเลือกนั่ง รถสองแถวประจำทางได้ ราคาประมาณ 12 บาท รถจะเป็นสีเหลือง เขียนบนหลังคาว่า วัดป่า (มักมีรูปวาดอุโบสถวัดป่าด้วย) และยังมีป้ายบอกอยู่ตรงกระจกด้านหน้าเช่นกัน ก่อนขึ้นถามคนขับเพื่อความแน่ใจก่อนก็ได้ โดยรถจะวิ่งวันเข้าไปในตลาด แล้วจอดรอผู้โดยสารสักแปบนึง

ท่านไม่ต้องตกใจ ยังไม่ถึง ไม่ต้องลง รอแปบเดียว เมื่อรถโดยสารสายเดียวอีกคันตามหลังมาถึง รถโดยสารของเราก็จะออกเดินทางไปสู่วัดป่าเลไลย์ การนั่งรถสองแถวประจำทางจะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ตั้งแต่รอรถมาถึง ไปจอดรับผู้โดยสารรในตลาด และพาท่านไปถึงวัดป่าเลไลย์

เที่ยววัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี

หลวงพ่อดำ

เรียกว่าเป็นอีก 1 ไฮไลท์ของวัดป่าเลไลย์เลยก็ว่าได้ น้อยคนนักที่จะรู้ถึงความศักดิ์สิทธิของหลวงพ่อดำ ทำให้พลาดโอกาสมากราบไว้ ขอพร ขอสิ่งที่ปราถนา ด้วยไม่รู้ว่ามีหลวงพ่อดำประดิษฐานอยู่ รวมถึงไม่รู้ว่าหลวงพ่อดำก็ศักดิ์สิทธิอย่างไร ไม่ย่อหย่อนไปกว่า องค์หลวงพ่อโตเลยทีเดียว

วิหารหลวงพ่อดำ อยู่ด้านหลังวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ประชาชนโดยทั่วไปให้ความเคารพและสักการบูชา ตามตำนานเล่าว่า หลวงพ่อดำมีมาก่อนหลวงพ่อโตซึ่งน่าจะมีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี บริเวณด้านหน้าหลวงพ่อดำมีหินเสี่ยงทายสองก้อนให้อธิษฐานเรื่องที่ปรารถนา ถ้ายกหินขึ้นแสดงว่าจะสมหวัง

หลวงพ่อดำ วัดป่าเลไลย์ เที่ยวสุพรรณบุรี gettythailand

หลวงพ่อดำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิอีกองค์ของวัดป่าเลไลย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับบทความแนะนำวัดป่าเลไลย์ สถานที่ท่องเที่ยวอันดับ 1 ของเมืองสุพรรณไม่มาไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้กราบหลวงพ่อโต ท่านยังมาไม่ถึงเมืองสุพรรณ เมื่อท่านได้มากราบไหว้หลวงพ่อแล้ว จะเดินทางไปเที่ยวต่อในสุพรรณ หรือจังหวัดใกล้เคียง หรือจะเดินทางกลับ ย่อมสวัสดีมีโชคชัย ขอพรสิ่งใดขอให้สมปราถณาทุกประการ แล้วอย่าลืมกลับมาเที่ยวเมืองสุพรรณอีก…

ไปละเหวย ไปละหว่าา ไปแล้วกลับมา เยี่ยมสุพรรณอีกทีเหน๋อออ

ขอขอบคุณ Facebook Page : วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

ขอขอบคุณFacebook Page : วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

ร้านอาหาร playground

ร้านอาหารเพล์กราวด์

เที่ยวเหนื่อยแล้ว หาของอร่อยกิน ต้องที่นี่ เพล์กราวด์ บิสโต

บทความแนะนำ