วิธีการปอกทุเรียน ง่ายๆ 4 ขั้นตอน
เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนพฤษภาคม ก็จะเป็นที่รับรู้ได้โดยทันทีว่า เป็นช่วงฤดูกาลปกติสำหรับผลไม้หน้าตาประหลาด แต่รสชาติไร้เทียมทานนามว่า ทุเรียน สุดยอดแห่งผลไม้ไทยจนได้รับขนานนามว่า “ราชาแห่งผลไม้ไทย”
เป็นที่ทราบกันดีว่า ผลไม้ที่มีเปลือกเป็นหนาม เนื้อสีเหลืองทอง และมีรสชาติเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกับผลไม้ที่ใดๆ ในโลก อีกทั้งมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ บางคนก็ว่าเหม็น บางคนก็ว่าหอม ทุเรียนที่มีเนื้อแน่นรสหวานมันจะมีราคาสูง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และขนาด
หากเพื่อนๆเป็นหนึ่งในผู้นิยม หลงไหลในรสชาติ และไม่เหม็นกลิ่นทุเรียน ควรจะต้องลองศึกษาวิธีการปอกทุเรียนไว้บ้าง การซื้อทุเรียนยกลูก มาพากินเองมันฟินไม่หยอกจะบอกให้ จะซื้อแบบที่แกะแล้วใส่กล่องโฟมขายมันก็ได้อยู่
แต่แบบนั้นควรจะเป็นแบบครั้งต่อครั้งซื้อแล้วต้องทานให้หมด อยากกินก็ไปซื้อใหม่ และราคาก็แพงกว่าซื้อเป็นลูกด้วยนะ
การปอกทุเรียน
ถึงหน้าทุเรียนแล้ว อยากกินต้องได้กิน วันนี้แอดมินขอนำเสนอ การปอกทุเรียน 4 ขั้นตอนง่ายๆ เอาใจคนรักทุเรียน ซึกวิธีการก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรเพียงแค่ ตัด-เซาะ-กรีด-แหก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในแต่ละขั้นตอนก็ควรทำด้วยความระมัดระวัง ทั้งจากหนามแหลมๆของเปลือกทุเรียนเอง และจากมีดที่เราในำมาช้ปอกทุเรียนด้วยครับ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
ตัด
ขั้นตอนแรกของการปอกทุกเรียนครับ คือการตัดก้นทุกเรียนด้านล่างครับ (ด้านที่ไม่มีจุก ก้านของผลทุเรียน) ตัดออกพอประมาณในลักษณะ ตามขวางของผลทุเรียน
โดยใช้มีดค่อยๆตัดหรือเฉือนออกที่ละน้อยก็ได้เพื่อความปลอดภัย หรือหากเพื่อนผู้ชายแรงดีๆ จะหั่นทีเดียวเลยก็ไม่ว่ากัน แต่อย่าลืมนะครับเราต้องการตัดแค่ส่วนก้นของทุเรียนออกเพียงเล็กน้อย ถ้าตัดมากหรือลึกเกินไป อาจจะไปโดนเนื้อทุเรียนได้นะครับ
เมื่อเราตัดเปลือกทุกเรียนออกไปบางส่วนแล้ว เราจะเห็นแนวปริของผลทุเรียนที่กำลังสุกเป็นแฉกๆตามจำนวนพูของทุเรียน
เซาะ
ขั้นตอนนี้เราจะใช้มีดเซาะลงไปตามรอยปริของผลทุเรียน ให้ค่อยๆกดลงไปตามรอยที่เราเห็นครับ ถ้ารอยปริชัดเจนก็แสดงว่าพูนั้นสุก หรือใกล้สุกแล้วเราก็เซาะลงไปได้เลย ไม่ต้องออกแรงกดมากเดียวจะทะลุไปโดนเนื้อทุเรียนได้ ส่วนตรงไหนถ้ารอยปริยังไม่ชัดเจนนักก็อาจจะเก็บไว้ก่อน หรือหากชอบกินแบบ กรอบๆไม่สุกมากก็เซาะลงไปเพื่อปอกเอามากินได้เลยครับ ตามชอบ
กรีด
หลังจากเซาะร่องตามรอยปรีที่ด้านท้ายของผลทุเรียนแล้ว เราห็มากรีดเปลือกทุเรียนลงตามแนวยาวของพูทุเรียน เริ่มกรีดต่อจากร่องที่เราเซาะตามข้อ 2 เราสามารถกรีดเปลือกตลอดแนวยาวของผลทุเรียน หรือจะกรีดออกเพียงครึ่งผลก็ได้ ควรระวังไม่กรีดแรงจนมีดทะลุไปโดนเนื้อทุเรียนด้วยนะครับ เพื่อความสวยงาม และระวังอย่าให้มีดบาดมือด้วย
แหก
แหกครับ แหก ขั้นตอนนี้อาจต้องออกแรงกันบ้างนิดนึงแต่ก็ไม่เยอะมากมาย คุณผู้หญิงเอวบางร่างน้อยก็ทำได้ครับ เพราะเราๆด้เซาะร่องและกรีดตามรอยปริของผลทุเรียนแล้ว
ถ้าทุเรียนลูกนั้นสุกได้ที่ กำลังกิน ไม่ดิบจนเกินไป ก็จะสามารถแหกเปลือกทุเรียนออกได้อย่างง่ายๆเลยครับ เพราะเปลือกมันสุกจนนิ่มแล้ว แถมเรายังเซาะ กรีดร่องช่วยอีกต่างหาก เพียงออกแรงเบาๆ ผลทุเรียนก็จะฉีกออกจากกันอย่างง่ายดายปานฉีกกระดาษทิชชูยุ่ยๆเลยปานนั้น
หลังจากเราแหกเปลือกทุเรียนออกจากกันแล้ว เราก็พร้อมแกะเอาเนื้อทุเรียนมาวางใส่จานสวยๆ พร้อมรับประทานกับครอบครัว หรือรอถ่ายรูปโพสลงโซเชียลมีเดีย อวดเพื่อนๆได้เลย
รอกินได้เลย
แท้น แท้น แท้น และนี่ก็คือ ผลงานการปอกเปลือกทุเรียนของแอดมินครับ สวยงามพอใช้ได้ น่าทานเลยทีเดียว
วิธีการแก้ก็คือ เมื่อเรารับประทานทุเรียนเสร็จให้เราดื่มน้ำตามมากๆ หรือจะเป็นน้ำสมุนไพร น้ำผลไม้ต่างๆ นอกจากนั้นควรรับประทานผักสด สลัด หรือผลไม้จำพวกเปรี้ยวๆ เช่น มังคุด แค่นี้ไม่ว่าจะทานแค่ไหนก็ไม่ เป็นร้อนในแล้ว เป็นวิธีง่ายๆทีาสามารถนำไปลองใช้ดูได้ ถ้าซื้อมาแล้วทานไม่หมดให้นำไปแช่ในช่องฟรีชในตู้เย็น รสชาติจะคงเดิม
อุปกรณ์ที่ควรมี
1. มีดที่แข็งแรง และมีความคมในระดับดี จะช่วยให้การตัด เฉาะ เฉือนเปลือกทุเรียน ทำได้ง่ายขึ้น
2. ถุงมือที่มีความหนากว่าถุงมือปกติ สำหรับจับลูกทุเรียน ถ้าไม่มีใช้ผ้ารองเวลาจับ หรือ พยายามจับลูกทุเรียน บริเวณช่วงว่างของหนามที่เปลือกทุเรียน จับให้กระชับมือ เพื่อความปลอดภัย
3. แรงกาย แรงใจ และแรงกินเมื่อปลอกสำเร็จ ข้อสุดท้ายนี้คงไม่ต้องเตรียม ทุกคนน่าจะมีอยู่แล้ว อิอิ
ประโยชน์ของทุเรียน
เราคงเคยได้ยินอยู่เสมอๆว่า ทุเรียนกินมากไม่ดี แถมยังทำให้อ้วน และความดันสูงอีกตะหาก แต่หากเราทานแต่พอดี ทุเรียนก็จะมีประโยชน์แบบที่เราไม่เคยรู้มาก่อน มาดูกันครับว่า ทุเรียนมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
1.”ผมขาวลดน้อยลง” ได้ด้วยทุเรียน
สำหรับหลาย ๆ ท่านที่กังวลเรื่องผมหงอกขาว ลองทานทุเรียนดูสิ เพราะผลไม้ชนิดนี้อุดมไปด้วยวิตามินบี 9 ในปริมาณมาก ซึ่งวิตามินชนิดนี้มีส่วนช่วยในการชะลอความแก่ รวมไปถึงการชะลอการเกิดผมหงอกสำหรับผู้ที่เริ่มมีอายุอีกด้วย ถ้าจะดีขนาดนี้ก็ต้องจัดมาสักพูแล้วล่ะ
2. ทุเรียนช่วย “ลดระดับไขมัน”
โดยเฉพาะพันธุ์ทุเรียนหมอนทอง ที่มีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) มีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และยังมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้ดี แต่ต้องมีเงื่อนไขว่าไม่ควรทานในปริมาณที่มากจนเกินไป (ประมาณไม่เกิน 1 พูต่อวันเท่านั้น) สำหรับใครที่กำลังอยู่ในช่วงควบคุมน้ำหนักแต่ก็อดใจไม่ไหวกับทุเรียน ไม่ต้องเครียดกันไป เลือกทานได้ในบางครั้ง เพราะไขมันที่อยู่ในทุเรียนเป็นไขมันที่ไม่ให้โทษต่อร่างกาย วางใจแล้วแอบชิมสักนิดแล้วจะติดใจ
3. “วิตามินซี” สูงในทุเรียน
เห็นทุเรียนเป็นผลไม้หวาน ๆ แบบนี้ แต่เชื่อหรือไม่ว่าในทุเรียนนี่แหละที่เต็มไปด้วยวิตามินซีสูงมาก ๆ มีผลต่อการป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนของเลือด แนะนำเช่นเคยว่าต้องทานในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้นแล้วจะดีต่อร่างกาย
4. “ดีท็อกซ์ลำไส้” ด้วยทุเรียน
เพราะในทุเรียนอุดมไปด้วยกากใยอาหาร ซึ่งดีต่อระบบการขับถ่ายในร่างกาย ทุเรียนจึงเป็นเสมือนยาระบายอ่อน ๆ นั่นเอง สำหรับใครที่อยากดีท็อกซ์ลำไส้ด้วยทุเรียนก็ไม่ยากเลยค่ะ เพียงทานทุเรียนในช่วงเช้าไม่เกิน 1 พู ตามด้วยน้ำอุ่น 1 แก้ว จะช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
5. ทุเรียนช่วยเรื่องการ “เผาผลาญ”
ทุเรียนนับว่าเป็นผลไม้ชนิดร้อน เมื่อทานเข้าไปในร่างกายจะเกิดการเผาผลาญด้วยความร้อนจากกำมะถัน โดยต้องเลือกทานทุเรียนเข้าไปในปริมาณที่พอดี (ครั้งละไม่เกิน 1 – 2 พู) ทุเรียนก็จะช่วยเข้าไปเร่งการเผาผลาญภายในร่างกาย สายเบิร์นรู้แบบนี้แล้วไม่ต้องกลัวว่าจะทานทุเรียนไม่ได้นะ
สรุปว่าหากจะทานทุเรียนให้ได้แต่ประโยชน์ ไม่ควรทานมากจนเกินไป หรือไม่เกิน 1-2 พู ต่อวันนะครับ รู้แบบนี้ สายดูเรียน เลิฟเวอร์ คงต้องแอบตีมือตัวเองบ่อยๆเป็นแน่
เรามาทำความรู้จักทุเรียน เบื้องต้น
ประวัติทุเรียนในประเทศไทย
ทุเรียนในประเทศไทยนั้น สามารถสืบค้นหลักฐานได้ถึงในสมัยอยุธยา ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาช้านาน แต่จะเข้ามาอย่างไรเมื่อไรไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่ก็น่าเชื่อถือได้ว่า มีถิ่นกำเนิดมาจากทางภาคใต้ของประเทศไทย และมีการปรับปรุงสายพันธ์ วิธีการปลูกเรื่อยมา
ย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 17 Jacques de Bourges หนึ่งในผู้เผยแผ่ศาสนาคนแรกที่มีโอกาสมาเยือนอยุธยาในปี ค.ศ. 1662 บรรยายถึงทุเรียนว่า
“รสชาติของผลไม้ในทวีปยุโรปทั้งหมด ไม่สามารถเทียบได้กับรสชาติอันล้ำลึกของทุเรียนเนื้อสีเหลืองนวลได้เลย”
เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Monsieur de la Loubre) ราชทูตแห่งฝรั่งเศสที่ได้มาเยือนสยามประเทศเองก็เขียนบันทึกไว้ในปี ค.ศ. 1687 ว่า
“ดูเรียน” (Durion) ชาวสยามเรียกว่า “ทูลเรียน” (Tourrion) เป็นผลไม้ที่นิยมกันมากในแถบนี้ แต่สำหรับข้าพเจ้า ไม่สามารถทนต่อกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของมันได้ ผลมีขนาดเท่าผลแตง มีหนามอยู่โดยรอบ ดูๆ ไป ก็คล้ายกับขนุนเหมือนกัน มีเมล็ดมาก แต่เมล็ดใหญ่ขนาดเท่าไข่ไก่ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้กิน ภายในยังมีอยู่อีกเมล็ดหนึ่ง ถือกันว่า ยิ่งมีเมล็ดในน้อย ยิ่งเป็นทูลเรียนดี อย่างไรก็ตาม ในผลหนึ่งๆ ไม่เคยปรากฏว่า มีน้อยกว่า ๓ เมล็ดเลย
จากระบบสังคม ความเชื่อของไทย มักนิยมนำอาหารผลไม้ดีที่สุดถวายพระ หรือเป็นของกำนัลเจ้านาย และระบบส่วยภาษีอากรต่างๆ ทำให้ทุกคนต้องปรับปรุงพืชผลของตนเอง ส่งผลให้เมืองไทยมีพันธุ์ไม้ผลดีๆ หลากหลายชนิด มาจนถึงสมัยปัจจุบัน
ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีการนำทุเรียนจากนครศรีธรรมราชมาปลูกย่านฝั่งธน และนนทบุรี มีการพยายามขยายพันธ์และปรับปรุงสายพันธ์ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ หลังน้ำท่วมใหญ่ปี 2485 ทำให้ทุเรียนหลายสายพันธ์สูญหายไปเพราะสวนล่ม ในย่านนนทบุรีและธนบุรี ทำให้เกิดการพยายามขยายสายพันธ์จากสวนที่เหลือรอด
ทำให้เกิดทุเรียนพันธ์ใหม่เกิดขึ้นมากมายแต่ไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่ออย่างเป็นระบบ ทำให้ต่างคนต่างเรียก ต่างตั้ง หากนับจำนวนสายพันธ์ของทุกเรียนในประเทศไทย มีมากถึง 220 กว่าสายพันธ์ แต่อาจมีหลายๆ พันธุ์ ที่เป็นพันธุ์เดียวกัน แต่มีการกำหนดชื่อพันธุ์ขึ้นใหม่ ที่ซ้ำซ้อน ในแต่ละพื้นที่
ทุเรียนที่ได้รับความนิยม 4 พันธุ์ อย่าง กระดุม หมอนทอง ก้านยาว และชะนี จะมีลักษณะแตกต่างกันไป มีจุดสังเกตุดังนี้
1. พันธุ์กระดุม ผลมีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม หัวและท้ายผลค่อนข้างป้าน ก้นผลบุ๋มเล็กน้อย น้ำหนักเฉลี่ย 1 กก. หนามเล็ก สั้นและถี่ ขั้วค่อนข้างเล็กและสั้น พูเต็มสมบูรณ์ ร่องพูค่อนข้างเล็ก เนื้อค่อนข้างบ่าง แต่ละเอียด นุ่ม สีเหลืองอ่อน เมล็ดมีขนาดใหญ่ รสชาติหวานไม่ค่อยมัน เละง่ายเมื่อสุกจัด
2. พันธุ์หมอนทอง ผลมีขนาดใหญ่ ค่อนข้างยาว มีบ่าผล ปลายผลแหลม น้ำหนักเฉลี่ย 3-4 กก. พูไม่ค่อยเต็มทุกพู หนามแหลมสูง ฐานหนามเป็นเหลี่ยม ระหว่างหนามใหญ่จะมีหนามเล็กแซมอยู่ทั่วไป เรียกว่า เขี้ยวงู ก้านใหญ่แข็งแรง ช่วงกลางก้านผลจนถึงปาปลิงจะอ้วนใหญ่เป็นทรงกระบอก เนื้อหนาสีเหลืองอ่อนละเอียด เนื้อแห้งไม่แฉะ รสชาติหวานมัน เมล็ดน้อยและลีบเป็นส่วนใหญ่
3. พันธุ์ก้านยาว ผลมีขนาดปานกลาง ทรงผลกลมเห็นพูไม่ชัดเจน พูเต็มทุกพู น้ำหนักเฉลี่ย 3 กก. หนามเล็กถี่สั้นสม่ำเสมอ ก้านใหญ่และยาว เนื้อละเอียดสีเหลืองหนาปานกลาง รสชาติหวานมัน เมล็ดมากค่อนข้างใหญ่
4. พันธุ์ชะนี ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ รูปทรงหวด คือ กลางผลป่อง หัวเรียว ก้นตัด น้ำหนักเฉลี่ย 2.5-3 กก. ร่องพูลึก มองเห็นชัด ขั้วผลใหญ่และสั้น เนื้อละเอียดมีสีเหลืองจัด รสชาติหวานมัน เมล็ดค่อนข้างเล็กและมีจำนวนเมล็ดน้อย
วิธีการดูว่าทุเรียนแก่พร้อมรับประทานหรือยัง
1. สังเกตก้านผล ก้านผลจะแข็งและมีสีเข้มขึ้น เมื่อลูบจะรู้สึกสากมือ เมื่อจับก้านผลแล้วแกว่งผลทุเรียน จะรู้สึกว่า ก้านผลทุเรียนมีสปริงมากขึ้น ก้านผลบริเวณปากปลิงจะบวมโต เห็นรอยต่อชัดเจน
2. สังเกตหนาม ปลายหนามแห้ง มีสีน้ำตาลเข้ม เปราะและหักง่าย ดังนั้น เมื่อมองจากด้านบนของผล จะเห็นหนามเป็นสีเข้ม หนามมีลักษณะกว้างออก ร่องหนามห่าง เวลาบีบปลายหนามเข้าหากันจะรู้สึกว่า มีสปริง
3. สังเกตรอยแยกระหว่างพู ผลทุเรียนที่แก่จัด จะสังเกตเห็นรอยแยกบนพูได้อย่างชัดเจน ยกเว้นบางพันธุ์ที่ปรากฏไม่เด่นชัด เช่น พันธุ์ก้านยาว
4. การชิมปลิง ผลทุเรียนที่แก่จัด เมื่อตัดขั้วผลหรือปลิงออก จะพบน้ำใส ซึ่งไม่ข้นเหนียว เหมือนในทุเรียนอ่อน และเมื่อใช้ลิ้นแตะชิมดูจะมีรสหวาน
5. การเคาะเปลือก หรือกรีดหนาม เมื่อเคาะเปลือกผลทุเรียนที่แก่จัด จะมีเสียงดังหลวมๆ เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างเปลือกและเนื้อภายในผล เสียงหนักหรือเบาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพันธุ์และอายุของต้นทุเรียน
วิธีเก็บรักษาทุเรียน
หากใครอยากเก็บทุเรียนไว้กินนานๆ ขอแนะนำวิธีเก็บรักษาคุณภาพทุเรียนใน 2 แนวทางคือ
1. แบบไม่แกะเปลือกออก เป็นวิธีการปอกทุเรียนแบบใช้มีดเจาะยกพูมาทีละ 1-2 พู ตามที่ต้องการจะรับประทาน และส่วนที่เหลือถ้าทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องแล้วทุเรียนจะสุกงอมเป็นปลาร้า วิธีการเก็บให้ใส่ถุงทั้งเปลือก แช่ตู้เย็นเพื่อยับยั้งการสุก หากต้องการรับประทานให้นำออกมาผึ่งและผ่าพูต่อไป
2. แบบแกะเปลือกออก เป็นวิธีการแกะเปลือกออกด้วยวิธีการปอกแบบฉีก ร่อนพู หรือยกร่องพู และหลังรับประทานไม่หมดให้บรรจุเนื้อทุเรียนในภาชนะเข้าช่องแช่แข็ง เมื่ออยากรับประทานอีกให้นำมารับประทานได้เลย หรือทิ้งไว้ระยะหนึ่งให้เนื้อนิ่มอ่อนตัวก่อนก็ได้
ถึงแม้ฤดูกาลของทุเรียนจะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคมและสิ้นสุดลงในช่วงเดือนพฤศจิกายน แต่เจ้าของสวนทุเรียนย่อมมีวิธีเก็บและถนอมรักษาไว้ได้ตลอดทั้งปี เป็นการแปรรูปและต่อยอดได้อีกหลายอย่าง
วิธีการแปรรูปทุเรียน
แกงมัสมั่น คนไทยชื่นชอบการทำอาหารด้วยผลไม้ แม้แต่ทุเรียนเองก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น เพราะเป็นวัตถุดิบที่เพิ่มชาติให้กับเมนูต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม เช่นในแกงมัสมั่น ที่ความหวานมันของทุเรียนช่วยเพิ่มความล้ำลึกให้กับรสชาติของน้ำกะทิและแกงกะหรี่ได้อย่างยอดเยี่ยม
ทุเรียนแผ่นทอดกรอบ ทุเรียนฝานบางที่นำมาทอดนี้ เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการมากมาย แถมยังอร่อยจนหยุดไม่ได้ เราแนะนำให้คุณแบ่งทานกับเพื่อนดีกว่า หากไม่อยากน้ำหนักขึ้นอยู่คนเดียว
กาแฟทุเรียน จะเกิดอะไรขึ้นหากกาแฟที่คุณทานมีส่วนผสมของผลไม้ที่มีกลิ่นแรงที่สุดในโลก? กาแฟแก้วนี้คงถือเป็นสุดยอดคาเฟอีน เพราะหากว่ากาแฟทั่วไปไม่ทำให้คุณกระชุ่มกระชวยได้ เฟรปเป้ทุเรียนนี่แหละ ที่จะทำให้คุณตาสว่างแน่นอน
พิซซ่าทุเรียน เมนูนี้ต้องทำให้ชาวอิตาลีขยาดแน่ๆ แต่อย่าเพิ่งด่วนตัดสิน รสชาติที่กำเนิดจากการผสมผสานของทุเรียนกับชีสมันสุดยอดกว่าที่คุณคิดเสียอีก ขอวงเล็บไว้ว่าเมนูนี้เหมาะสำหรับผู้ที่รักทุเรียนอยู่แล้วเท่านั้น
ส้มตำทุเรียน สำหรับเมนูส้มตำ โดยปกติเเล้วเราใช้มะละกอเป็นวัตถุหลัก แต่ส้มตำรูปแบบใหม่นี้จะทำให้คุณลืมความคิดนั้นไปได้เลย เพราะรสสัมผัสของทุเรียนที่นิ่มหรือความกรอบของทุเรียนทอดนี้ จะทำให้ผู้ชื่นชอบส้มตำทั้งหลายอยากที่จะลิ้มลองเมนูแสนแปลกนี้สักครั้งแน่นอน
ทุเรียนกวน ทุเรียนกวนเป็นที่นิยมมากในภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทยด้วยรสชาติที่เข้มข้นและรสสัมผัสที่หนึบหนับ วิธีทำทุเรียนกวนนั้นไม่ซับซ้อน เพียงนำทุเรียนหมอนทองใส่ลงไปในกระทะร้อน แล้วให้เคี่ยวจนกลายเป็นสีน้ำตาลทองสวย
ทุเรียนเชื่อม อีกหนึ่งในของหวานของไทยที่มีรสหวานเจี๊ยบยอดนิยม คล้ายกับลูกเกาลัดฉาบน้ำตาลส่งตรงจากฝรั่งเศส แต่แตกต่างกันที่กลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของทุเรียน
ทำไมทุเรียนถึงมีราคาแพง
หากไม่นับรวมถึงการบำรุงดูแล ประคบประโงมต้นทุเรียนของเกษตรกร ที่จะต้องเอาใจใส่ เฝ้ารอเวลาที่จะให้ผลผลิต ต้องฝันผ่าวิกฤตต่างๆจากธรรมชาติ ฝนฟ้า พายุ โรคพืชต่างๆ รวมถึงค่าดำเนินงาน ค่าจ้างค่าแรง ค่ายา และอื่นๆอีกมากมาย กว่าจะได้ออกมาเป็นผลผลิตออกสู่ตลาด ทำให้ทุเรียนมีราคาสูงโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะมีจำนวนผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย แต่ความต้องการบริโภคมากมากขึ้น เรียกว่าแต่ละปีๆผลิตกันไม่ทัน ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการส่งออกไปยังต่างประเทศมากกว่าขายในตลาดในประเทศ
ราคาทุเรียนปีนี้มีราคาต้นทุนสูงขึ้นเพราะว่าเจ้าของสวนส่วนใหญ่มีการส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ ทำให้ผู้ค้าต้องซื้อทุเรียนแพงกว่าทุเรียนที่ส่งออกต่างประเทศ เพราะทุเรียนที่ส่งต่างประเทศจะตัดผลตอนอายุอ่อนได้น้ำหนักมากกว่า ดีกว่าทุเรียนที่ขายตลาดในประเทศ น้ำหนักของลูกทุเรียนสุกพร้อมทานจะเบากว่าทุเรียนที่ส่งไปจีน ทำให้เกษตรกรหลายสวนก็เลือกที่จะส่งออกมากกว่า เรียกง่ายๆว่า กว่า 80% ของผลผลิตทุเรียนถูดส่งออกไปขายยังต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน ยิ่งตอนนี้ผู้ซื้อชาวจีนมีการปรับตัว จากเมื่อก่อนที่ซื้อเฉพาะเบอร์สวยๆ เกรด A ก็เริ่มหันมาเหมาซื้อเกรดรองๆ ลงมา ทำให้ทุเรียนที่จำหน่ายในประเทศมีน้อยลงไปด้วย
so easy! thanks!