Table of Contents
ท้าวเวสสุวรรณ
ในช่วงที่ผ่านมา เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินชื่อ”ท้าวเวสสุวรรณ” มาบ้าง บางท่านอาจได้ยินจนคุ้นหู หรืออาจจะไปไหว้ บูชา สักการะ เพื่อขอพร โชคลาภ ด้วยตนเอง เพราะความศรัทรา ตามสถานที่ต่างๆที่มีรูปเคารพของท่านตั้งอยู่
ด้วยความศรัทราที่คนไทยมีต่อท่านมากขึ้น และความเชื่อแบบปากต่อปากว่าไปขอพรแล้วได้โชคลาภกลับมา การเงินไม่ติดขัด การงานสามารถซื้อง่ายขายคล่อง และประสบความเร็จมีความมั่งคั่ง หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักท่านอย่างลึกซึ้ง วันนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับ ท้าว เวสสุววรณ ที่เราศรัทธาไปไหว้บูชาและไปหาท่านในยามทุกข์ใจกัน
ท้าวเวสสุวรรณ คือ ใคร
ท้าว เวสสุวรรณ เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ในท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 อธิบดีเเห่งอสูร เป็นเทพผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา คุ้มครองโลกมนุษย์เเละเจ้าเเห่งทรัพย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มียักษ์เป็นบริวาร
ท้าว เวสสุวรรณ ถูกเรียกต่างกันในเเต่ละศาสนา อย่างในศาสนาพราหมณ์ แลพฮินดูเรียกว่า ท้าวกุเวร ในพุทธศาสนาเรียกท้าวไพสพ ซึ่งเป็นอธิบดีแห่งอสูร เจ้าแห่งภูตผีปีศาจนั่นเอง
ตำนานท้าวเวสสุวรรณ
ตำนานแรก เชื่อว่า
ในอดีตท้าว เวสสุวรรณ เป็นพราหมณ์เปิดโรงงานขายหีบอ้อย ค้าขายอย่างร่ำรวยเเละนำเงินไปบริจาคให้กับผู้ยากไร้ ด้วยผลบุญนี้ท่าน จึงได้รับพรจาก พระพรหม เเละ พระอิศวร ให้ท้าว เวสสุวรรณเป็นอมตะ เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติของทั้งปฐพี เทพแห่งความร่ำรวยเงินทอง
ผู้คนจึงนิยมบูชาท้าว เวสสุวรรณ เพื่อความมั่งคังนั่นเอง จึงเหมือนกันชื่อของท่าน คือ ท้าว เวสสุวรรรณ ซึ่ง เวส แปลว่าพ่อค้า หมายถึง พ่อค้าอันมีทรัพย์นั่นเอง
อีกตำนาน เชื่อว่า
ท้าว เวสสุวรรณเดิมที่ชื่อกุเวรพราหมณ์ ในชาติก่อนได้ทำบุญทำกุศลไว้มาก ส่งผลให้ชาติถัดมาได้เกิดเป็นกษัตริย์เเห่งกรุงราชคฤห์ มีพระนามว่า พระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นสหายกับเจ้าชายสิทธัตถะ
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงเสร็จมาโปรดพระเจ้าพิมพิมพิสารจนบรรลุโสดาบัน พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระเวฬุวันมหาวิหารให้พระพุทธเจ้าประทับ จึงเป็นอานิสงค์ให้ได้วิมานที่สวยงาม พระเจ้าพิมพิสานทำทานบ่อย ทำให้มีทิพยสมบัติมากมาย เเละเมื่อทรงเป็นเทวดาที่มีอำมาจมาก
องค์แรกในประเทศไทย
ท้าวเวสสุวรรณองค์แรกของไทย ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก เป็นท้าวเวสสุวรรณปางประทับนั่ง ถือกระบองวิเศษเป็นอาวุธ สถิตถวายการอภิบาลที่ฐานชุกชี รัตนบัลลังก์ เบื้องพระหัตถ์ซ้ายขององค์หลวงพ่อพระพุทธชินราช หล่อด้วยโลหะสำริดโบราณ ลงรักปิดทองมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
รูปกายลักษณะ
รูปร่างหน้าตาของท้าว เวสสุวรรณ ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี จะเป็นรูปยักษ์ถือกระบองขนาดใหญ่ เพราะท่านเป็นเจ้าแห่งอสูร รากษส(ยักษ์ร้าย อสูรที่มีนิสัยดุร้าย) รวมถึงภูติผีปีศาจ
คนสมัยก่อนจึงนิยมเเขวนรูปท้าว เวสสุววรณไว้เหนือเปลนอนเด็ก เพราะเชื่อว่า ภูติผีปีศาจจะไม่กล้าเข้ามารบกวนเด็กเล็ก เพราะมีท้าว เวสสุวรรณคุ้มครองอยู่
ปางต่างๆของท้าว เวสสุวรรณ
1.ปางพรหมาสูติเทพ ปางนี้จะเป็นเทพอยู่บนสวรรค์ชั้นพรหม รูปกายองค์ท่านจะสีทอง และสวมใส่ภูษาสีทองเช่นกัน อำนวยชัยให้พรแก่ผู้ที่มาขอในเรื่องโชคลาภเงินทอง
2. ปางจาตุมหาราช เป็นปางที่เราคุ้นเคยกันดี เป็นยักษ์ร่างใหญ่ ดูน่ายำเกรง ซึ่งปางนี้รูปกายองค์ท่านจะสีเขียวออกดำ สวมใส่ภูษาสีเขียว
ปางนี้จะปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย คุ้มครองให้แคล้วคลาด หากใครกำลังดวงตก หรือมีสิ่งไม่ดีครอบงำ เจ็บป่วยอย่างหาสาเหตุไม่ได้ แนะนำให้มาไหว้ท้าวเวสสุวรรณปางยักษ์นี้
3. ปางเทพบุตรสูติเทพ ปางนี้จะเป็นเทพบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รูปกายองค์ท่านจะสีทอง สวมใส่ภูษาสีแดง อำนวยชัยให้พรแก่ผู้ที่มาขอในเรื่องความรัก คู่ครองความปรารถนาต่างๆ
4. ปางมนุษย์ ปางนี้จะช่วยให้ดำเนินชีวิตราบรื่น ทำสิ่งใดไม่มีอุปสรรค
เคล็ดลับการบูชา
เคล็ดลับการบูชาท้าว เวสสุวรรณเพื่อความสำเร็จสมหวังแนะนำให้จุดธูป 9 ดอก และถวายดอกกุหลาบ 9 ดอก ก่อนสวดให้ตั้งจิตอธิษฐานระลึกถึงพระคุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย และพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
คาถาบูชาท้าว เวสสุวรรณ
..ตั้งนะโม 3 จบ..
“อิติปิ โส ภะคะวา
ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต
นะโม พุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ
จาตุมะหาราชิกา ยักขะ พันตา ภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ
ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ”
นอกจากท้าว เวสสุวรรณจะช่วยปัดเป่าวิญญาณร้าย สิ่งชั่วร้าย รวมถึงสิ่งอัปมงคลทั้งหลายแล้ว ท่านยังช่วยบันดาลโชคลาภ ดึงดูดเงินทองให้ไหลมาเทมา มีอำนาจวาสนา ได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เจริญในลาภยศ และนำพาสิ่งดี ๆ มาสู่ตัวผู้บูชาด้วยค่ะ
หากสวดบูชาเป็นประจำแล้วชีวิตของคุณจะเจริญก้าวหน้า พบเจอแต่สิ่งที่เป็นมงคล มีโชคมีลาภตลอดไม่ขาดมือ แต่สิ่งสำคัญก็คือการคิดดี ทำดี ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น ไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น และหมั่นรักษาศีลหรืออยู่ในศีลอยู่ในธรรมเสมอ รับรองว่าชีวิตของคุณจะรุ่งเรือง
หรืออีกวิธีที่สามารถบูชาท่านได้ด้วยตัวท่านเองที่บ้าน หากมีปัญหาเรื่องการเงิน การงาน โชคลาภ สามารถบนบานศาลกล่าวกับท้าว เวสสุวรรณได้เองที่บ้าน ถ้ามีผ้ายันต์ หรือองค์ลอย ปฏิบัติได้ด้วยการอาบน้ำ แต่งกายให้สะอาดสุภาพ สมาทานศีล 5 สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย พาหุง ชินบัญชร จุดธูป 9 ดอก พวงมาลัยดาวเรืองหรือดอกกุหลาบ 1 พวง ตั้งนะโม 3 จบ สวดคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ 9 จบ
10 พิกัด สถานที่บูชา
1.วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม แจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 วัดเปิดปกติเวลา 06.00 – 24.00 น. แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้น ประกอบกับมีประชาชนเดินทางมากราบไหว้เป็นจำนวนมาก ควรติดตามประกาศจากทางวัด ก่อนเดินทางไปไหว้สักการะ
2. วัดสุทัศนเทพวราราม ถนนบำรุงเมือง หน้าวัดออกทางถนนอุณากรรณ กรุงเทพมหานคร ท้าว เวสสุวรรณประดิษฐานที่มุขด้านหลังพระอุโบสถ หล่อด้วยสำริดเคลือบสีเขียว ตามตำนานของวัดสุทัศนเทพวราราม ท้าวกุเวรมหราชเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อ “กุเวร” ได้สร้างโรงหีบอ้อยและนำกำไรที่ได้ให้ทานตลอด 20,000 ปี เมื่อถึงแก่กรรมไปเกิดเป็นเทพบุตรชื่อกุเวรในสวรรค์ ปกครองหมู่ยักษ์และอมนุษย์ มีราชธาณีชื่อวิสานะ ตั้งแต่นั้นจึงเรียกว่า “ท้าว-เวสสุวรรณ”
3. พุทธมณฑลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เขาทำเทียม ที่บริเวณภูเขาใกล้กับ วัดเขาทำเทียม และภูผามังกรบิน เขตโบราณสถานเมืองอู่ทอง อ.อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรูปเคารพท่านท้าว เวสสุวรรณจะตังอยู่บริเวณด้านหน้า พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ (หลวงพ่ออู่ทอง)
4. วัดพังม่วง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เชื่อว่า ช่วยปัดเป่าวิญญาณร้าย สิ่งชั่วร้าย รวมถึงสิ่งอัปมงคลทั้งหลาย ยังช่วยบันดาลโชคลาภ ดึงดูดเงินทองให้ไหลมาเทมา มีอำนาจวาสนา ได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เจริญในลาภยศ และนำพาสิ่งดี ๆ มาสู่ตัวผู้บูชา
5. วัดเถรพลาย ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ท้าว เวสสุวรรณ มี 2 องค์ด้วยกัน คือองค์ปกติและปางถือกระดานชนวน (ท้าวปลดหนี้) หนึ่งเดียวของไทย ประดิษฐานด้านหน้าองค์พระเจดีย์สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ
6. วัดบางชัน รามอินทรา 109 กรุงเทพมหานคร รูปหล่อท้าว เวสสุวรรณขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่บริเวณหน้าศาลาอนุสรณ์ 95 ผู้คนมักไปขอพรเรื่องโชคลาภ ทำมาค้าขึ้น ปัดเป่าภัยจากสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น
7. วัดสุทธาราม ซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 19 กรุงเทพมหานคร สักการะองค์หลวงพ่อฉิมอายุกว่า 200 ปี องค์ท้าว เวสสุวรรณใหญ่ที่สุด และชมพิพิธภัณฑ์โบราณ สถานที่ประดิษฐานท้าว เวสสุวรรณองค์ขนาดใหญ่ เปิดให้กราบไหว้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-22.00 น. อีกทั้ง วันเสาร์และอาทิตย์จะเปิดพิพิธภัณฑ์ให้ชมด้วย
8. วัดไผ่เงินโชตนาราม ซอยวัดไผ่เงิน กรุงเทพมหานคร องค์ท้าว เวสสุวรรณ ขนาดความสูง 2.90 เมตร ประดิษฐานอยู่บริเวณหน้าศูนย์วัตถุมงคลท้าวเวสสุวรรณนารายณ์ทรงครุฑ
9. วัดโพธิ์ใหญ่ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เผยว่า ชาวจีนยกย่ององค์ท้าว เวสสุวรรณว่า เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภและความร่ำรวยในนาม “องค์ไฉ่ซิงเอี้ย” ซึ่งมีบูชากันทุกบ้านร่ำรวยทุกคน ขับไล่ภูติผีปีศาจ วิญญาณร้าย มีอายุมากกว่า 100 ปี
10. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ พิษณุโลก เทวรูปท้าว เวสสุสรรณ ปางประทับนั่ง ถือ คทาวุทธัง (กระบองวิเศษเป็นอาวุธ) สถิตถวายการอภิบาลที่ฐานชุกชี รัตนบัลลังก์ เบื้องพระหัตถ์ซ้าย องค์หลวงพ่อพระพุทธชินราช มายาวนาน หล่อด้วยโลหะสำริดโบราณ ลงรักปิดทอง สมัยอยุธยาหนึ่งเดียวในสยามรัฐสีมา
วิธีการเชิญองค์ท่านไปบูชาที่บ้าน
1. นำองค์ท้าวเวสสุวรรณไปประดิษฐานบนหิ้งพระหรือโต๊ะหมู่บูชาที่เตรียมไว้ ทั้งนี้ควรวางแยกออกมาอยู่ต่ำกว่าโต๊ะหมู่บูชาหรือหิ้งพระที่วางพระประธานหรือพระพุทธรูปเล็กน้อย หากมีผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณให้ติดไว้ด้านหลังองค์ท่าน หรือถ้าจะตั้งบูชาจุดอื่น ๆ ในบ้าน เช่น ตั้งบนโต๊ะทำงาน ควรมีพานรองด้วย
ส่วนฤกษ์ในการอัญเชิญควรเป็นช่วงข้างขึ้นตามปฏิทินจันทรคติหรือถือเอาช่วงเช้าของวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครูเป็นฤกษ์ดีแทนก็ได้
2. ตั้งสมาธิระลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นจุดธูป 9 ดอก พร้อมถวายเครื่องสักการบูชา อาทิ น้ำ ผลไม้ ดอกไม้ แล้วค่อยกล่าวคำบูชา เริ่มจากตั้งนะโม 3 จบ และตามด้วยบทสวดบูชาท้าวเวสสุวรรณ เพื่อขออัญเชิญท้าวเวสสุวรรณ ดังนี้
“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ” (กล่าว 3 ครั้ง)
บทสวดบทสวดบูชาท้าวเวสสุวรรณฉบับย่อ
“อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะ พันตาภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง
อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ”
บทสวดบูชาท้าวเวสสุวรรณฉบับเต็ม
“ปุตตะ กาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภธะนัง อัตถิกาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตังสุตตะวาฯ
อิติ ปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะฯ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต เวสสะ พุสะ
พุทธัง อรหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะฯ”
แล้วกล่าวตามว่า สาธุ…ลูกชื่อ…นามสกุล…อาศัยอยู่บ้านเลขที่…ขอกราบกรานองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด และกราบขอบารมีองค์เสด็จปู่ท่านท้าวเวสสุวรรณผู้เป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ ทางทิศเหนือเป็นผู้ดูแลและรักษามนุษย์ในพระพุทธศาสนาขออัญเชิญเสด็จมารับการ กราบไหว้บูชาของพวกลูกเหล่านี้ เมื่อเสด็จปู่ท้าวเวสสุวรรณได้ทรงรับทราบแล้วโปรดประทานพรให้ลูก ๆ และครอบครัว ประสบแต่สรรพสิริมงคล อุดมโชคลาภ และขอให้เสด็จปู่ท้าวเวสสุวรรณ ได้โปรดอภิบาลให้ลูก ๆ และครอบครัวปราศจากภัยทั้งหลายอันตรายทั้งปวงตลอดไปด้วยเทอญ
เรื่องนี้คุณอาจสนใจ
การสมาทานศีล
สมาทานศีล 5 โดยเริ่มจาก
คำบูชาพระ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ(กราบ)
สะวาขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมังนะมัสสามิ(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)
คำอาราธนาศีล 5
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
คำนมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
ไตรสรณคมณ์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
บทพาหุงมหากา
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
บทสวด ชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ
ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา (ภาวนา 10 จบ)
พระคาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม
ก่อนสวดให้นึกถึง หลวงปู่โต พรหมรังสี แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ว่า
ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภธะนัง
อัตถิกาเย กายะ ญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
เริ่มสวดบทพระคาถาชินบัญชร 15 บท
ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.
คำแปลพระคาถาชินบัญชร ทุกบท
พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ
อานุถาพคาถรชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชรนี้มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดสวดมนต์ หรือภาวนาคาถาชินบัญชรอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะกิน เดิน นั่ง นอน หรือภาวนาพระคาถาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือแม้กระทั่งตอนทำงานก็จะช่วยเสริมให้เกิดความเป็นสิริมงคล สมบูรณ์พูลผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย เดินทางไปที่ได้ก็เกิดเมตตามหานิยม มีลาภผลทวี ขจัยภัยภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ
หากสวดคาถาชินบัญชรนี้ขณะทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริต แก้สรรพโรคได้หายสิ้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งพระคาถาที่มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณที่ว่า “ฝอยท่วมหลังช้าง” เมื่อเดินทางไปที่ใดๆ ให้สวด 10 จบแล้วอธิฐานก็จะสำเร็จได้สมดังใจ
ที่มา , ประวัติ คาถาชินบัญชร
ชินบัญชรเป็นคาถาหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีอายุยาวนานนับร้อยปี ตั้งแต่เริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณช่วงสมัยรัชกาลที่ 2 มาจนถึงปัจจุบัน เพราะด้วยพลานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์จึงทำให้ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธหันมาท่องพระคาถานี้เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้กับตัวเอง อีกทั้งยังเป็นการป้องกันให้ตนเองนั้นพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ ทั้งปวง
มีการถกเถียงกันมาเป็นระยะเวลายาวนานนับทศวรรษเกี่ยวกับเรื่องราวที่ว่า ใครที่เป็นผู้แต่ง คาถาชินบัญชร ขึ้นระหว่าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรํสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม กับพระมหาเถระผู้เชี่ยวชาญบาลีปกรณ์รูปหนึ่งจากเชียงใหม่ ซึ่งในกรณีของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าท่านเป็นเพียงแค่ผู้นำพระ คาถาชินบัญชร มาเผยแพร่ต่อ มิได้เป็นผู้แต่งขึ้นเอง
ตามที่ได้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ไปสวดพระคาถานี้ถวายองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงมีรับสั่งว่าถ้อยคำในบทสวดนั้นไพเราะ และได้ทรงซักถามเพิ่มเติมว่า “ขรัวโตได้มาจากไหน แต่งเองหรือเปล่า” สมเด็จพระพุฒาจารย์จึงได้ถวายพระพรตอบว่า “หามิได้ เป็นสำนวนเก่าของเมืองเหนือ นำมาแก้ไขดัดแปลงใหม่ ตัดตอนให้สั้นเข้า ของลังกายาวกว่านี้” ฉะนั้นจึงเป็นไปได้ว่าผู้แต่งขึ้นน่าจะเป็นพระภิกษุชาวล้านนารูปหนึ่ง อยู่ในสมัยพระเจ้าติโลกราชที่อาจะเป็นยุคทอง
เนื่องจากในยุคนั้นเป็นยุคสมัยที่มีการสนับสนุนให้พระเถระหลายร้อยรูปเดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ลังกา เมื่อได้สำเร็จการศึกษาจึงมีการแข่งขันกันแต่งบาลีปกรณ์กันอย่างเอิกเกริกจนชื่อเสียงแผ่ขยายไปจนถึงพม่า กรุงศรีอยุธยา สิบสองปันา และล้านช้าง ทำให้เมืองเหล่านั้นต้องขอคัมภีร์ภาษาบาลีที่จารโดยพระภิกษุล้านนาไปศึกษาอย่างแพร่หลาย
ความหมายของชินบัญชร
ในความหมายของคำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่
จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ มาสถิตในทุกส่วนของร่างกายจนรวมกันเป็นกำแพงแก้วคุ้มกัน ตั้งแต่กระหม่อมลงมาห้อมล้อมรอบตัวของผู้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรจนกระทั่งอันตรายก็ไม่สามารถหาช่องโหว่เพื่อสอดแทรกเข้ามาได้
เราได้รู้จักประวัติความเป็นมาของพระคาถาชินบัญชรอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องไปกำหนดจิตใจให้สงบเพื่อเริ่มสวดภาวนาพระคาถากันแล้ว