ตลาดนัดโอโซนวัน

ตลาดนัดโอโซนวัน

ตลาดนัดโอโซนวัน

ตลาดนัดโอโซนวัน ตลาดเดินเล่นยามเย็นบนถนนสรงประภา มีของกิน ของใช้ ให้เลือกมากมาย

หากจะเดินเล่นคลายเครียดยามเย็นแบบชิลล์ๆๆ ตลาดนัดโอโซนวัน ก็เป็นตลาดที่ขึ้นชื่อแถวย่านดอนเมือง ภายในตลาดมีพ่อค้าแม่ค้ามากมาย ทั้งอุปโภค บริโภค ครบครัน ที่สำคัญตลาดได้จัดเตรียมสถานที่ไว้ให้นั่งรับประทานอาหารกันแบบชิวๆสบายๆ เสมือนออกมาปิคนิคนอกบ้าน กับครอบครัว กับเพื่อนฝูง แต่ไม่ต้องเตรียมอาหารใส่กล่องมส่ตระกร้าให้วุ่นวายยังไงยังงั้นแหล่ะ

ตลาดนัดโอโซนวัน สำหรับสายท่องเที่ยว

ตลาดนัดโอโซนวัน ดอนเมือง gettythailand

จะว่าไปตลาดนัดโอโซนวัน จะเรียกว่าเป็นตลาดกลางคืนก็คงไม่ผิด เพราะกิจกรรมของตลาดจะเริ่มคึกคักในช่วงประมาณ 5 โมงเย็น หรือ 17 น. เป็นต้นไป จะเป็นเวลาที่เริ่มมีผู้คนมาเดินเที่ยวตลาดกัน ไปจนถึงเวลาปิดตลาดประมาณเที่ยงคืน




โซนร้านค้า แหล่งช็อปปิ้ง

ตลาดนัดโอโซนวัน ดอนเมือง by gettythailand

ในตลาดมีทั้งร้านค้า เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ ของสะสม ร้านอาหาร ซุ้มขายอาหาร ทั้งคาว หวาน เครื่องดื่ม ขนมต่างๆมากมาย ไว้ค่อยต้อนรับผู้ที่เข้ามาใช้บริการของตลาด นอกจากนี้ยังมี ร้านบริการเสริม ความหล่อ ความสวยด้วยเช่น ร้านตัดผม ร้านทำเล็บ ร้านสัก ฯ

ตลาดนัดโอโซนวัน ดอนเมือง by gettythailand

ตลาดโอโซนวันมีพื้นที่มากกว่า 12 ไร่ เป็นตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในเขตดอนเมือง เรียกว่าได้เดินกันขาลากเลยทีเดียว แต่ไม่ต้องกังวลไปเดินเมื่อยก็มีที่นั่งพัก นั่งรอ ใครยังไม่เหนื่อยเดินต่อไหวก็จงใช้พลังให้เต็มที่

ตลาดนัดโอโซนวัน ดอนเมือง by gettythailand

ในตลาดโอโซนวัน จะแบ่งออกเป็นโซนๆ แต่ละโซนก็แบ่งเป็นออกเป็นล็อคๆ ในระหว่างแต่ละล็อคตรงกลางมี โต๊ะเก้าอี้ให้นั่ง รอ หรือจะซื้ออาหารมารับประทานระหว่างรอก็ได้



ตลาดนัดโอโซนวัน ดอนเมือง by gettythailand

จุดแลนด์มาร์ค ของตลาดนัดโอโซนวัน อยู่ตรงกลางตลาด จะเป็นรูปร่างเหมือนต้นสนประดับไฟสีเขียว เหมือนต้นคริสมาสยังไงยังงั้น ตรงนนี้ทางตลาดก็เปิดโอกาสให้้น้องๆที่มีความสามารถมาโชว์ของ โชว์ความสามารถ หารายได้พิเศษ หลากหลายรูปแบบ วันนี้ก็มีน้องๆมาโชว์พลังเสียง โชว์ความสามารถด้านดนตรีด้วย

หลังจากเดินเล่นไป ถ่ายรูปไป เกือบชั่วโมงก็พอได้ภาพบรรยากาส (รูปที่คัดเลือกแล้ว) ในส่วนของโซนร้านค้าประจำตลาดมาฝากเพื่อนๆ และคุณผู้อ่านได้ชมนิดหน่อย



ตลาดนัดโอโซนวัน ดอนเมือง by gettythailand

นอกจากโซนร้านค้าประจำแล้ว ตลาดโอโซนวันยังมีโซนตลาดเปิดท้ายขายของ มีทั้งสินค้ามือ 1 มือ 2 ของเล่น เครื่องประดับ ของตกแต่ง น้ำหอม ตุ๊กตา และอื่นๆอีกเพียบ เรียกว่ามีเยอะจนอยากให้มาดูด้วยตาตัวเอง

โซนเด็กเล่น ตลาดโอโซนวัน gettythailand

ก่อนจะแวะไปที่โซนของกิน ที่เป็นไฮไลท์ของตลาดโอโซนวัน เรามาแวะกันที่โซนเด็กเล่นกันก่อน โซนเด็กเล่นอยู่ข้างตลาดด้านหน้า ฝั่งลาดจอดรถ ซึ่งถ้าเข้ามาที่ตลาดช่วงค่ำ รับรองจะต้องเห็นแน่นอน บริเวณโซนนี้จะมีชิงช้าสวรรค์ประดับไฟที่โดดเด่นมากๆๆ



นอกจากชิงช้าสวรรค์ก็ยังมาม้าหมุน และร้านระบายสี สำหรับเด็กๆ มีทั้งตุ๊กตา รูปวาดตัวการ์ตูนให้น้องๆได้ลงสีกันตามจินตนาการ สำหรับหนูน้อยจอมพลังก็จะมี บ้านลมและสปริงบอร์ดให้ได้ปลดปล่อยพลังกันจนคุณพ่อคุณแม่ต้องรอกันเมื่อยๆเลย

โซนของกิน ร้านอาหาร

โซนร้านอาหาร ตลาดโอโซนวัน gettythailand




หลังจากเดินจนหมดพลังงานกันแล้ว เรามาเติมพลังกันที่โซนของกิน ซึงมีร้านอาหารใก้เลือกเยอะมาก ทั้งทานจริงจัง ทานเล่นๆ ขนมของหวานต่าง มีครบถ้วน

โซนร้านอาหารในตลาดโอโซนวัน มีเยอะมากส่วนมาจะอยู่บริเวณ ริมๆของตลาด ส่วนด้านในพื้นที่กลางตลาดจะเป็นที่ขายของอย่างอื่น ส่วนของร้านอาหารถ้าเราหันหน้าเข้าหาตลาด ด้านริมซ้ายมือของเรา จะเป็นโซนขายอาหารโซฯใหญ่มี ร้านขายอาหารประมาณ 3 – 4 ซอยแต่ละซอยยาวไปถึง ลานนั่งทานหน้าเวทีด้านหลังตลาด

โซนร้านอาหาร ตลาดโอโซนวัน gettythailand

ลานนั่งทานอาหาร บริเวณด้านหน้าตลาด และยังเป็นจุดนัดพบ นั่งพักรอกันหากมากันหลยคน




เราสามารถเดินเลือกซื้ออาหารตามซุ้มต่างๆมานั่งรับประทานที่ลานกว้างทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตลาด แต่ทางด้านหลังจะมีเวทีดนตรี ซึ่งนะมีนักดนตรีมาเล่นเป็นประจำในวัน พฤหัส ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์

โซนร้านอาหาร ตลาดโอโซนวัน gettythailand

ตลาดนัดโอโซนวัน

เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 24.00

ราคาอาหารและเครื่องดื่ม 40 – 100 บาท

สินค้าอุปโภคราคาตั้งแต่ 10 – 2000 บาท

ที่จอดรถยนต์ ได้มากกว่า 400 คัน

ที่จอดรถจักรยานยนต์ ได้มากกว่า 200 คัน

เหมาะมากสำหรับเป็นจุดพักผ่อนครอบครัว เพื่อนฝูง




ตลาดนัดโอโซนวันสำหรับพ่อค้า แม่ค้า

ค่าเช่า : รายเดือน

3,000บาท/เดือน (โซนช่วงหลังๆตลาด)

4,000บาท/เดือน (โซนช่วงกลางตลาด)

5,000บาท/เดือน (โซนโต๊ะรับประทานอาหาร)

ขนาดล็อคร้านค้า : 2.5 เมตร x 2 เมตร

ค่าเช่ารายวันโซนเปิดท้ายวันละ 80 บาท

เช่าจองพื้นที่ตลาด :

สามารถโทรติดต่อสำนักงานตลาดโอโซนวันสรงประภา
080-590-1333, 094-528-5777
เวลา 16.30-23.00 น.

Facebook : Ozoneonemarket

แผนที่และการเดินทาง

ตำนานตลาดนัด

‘ตลาด’ มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ตลาดน้ำ ตลาดบก ตลาดสด หาบเร่แผงลอย และโดยเฉพาะ ‘ตลาดนัด’ ซึ่งอาจไม่แตกต่างกับตลาดทั่วไป แต่มีความพิเศษอยู่ที่การกำหนด ‘เวลา’ ในการ ‘นัด’ การซื้อขาย ตามที่ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของตลาดนัดไว้ว่า “ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ประจำ จัดให้มีขึ้นเฉพาะในวันหรือสถานที่ที่กำหนดเท่านั้น”

รูปแบบของตลาดนัดมีผู้อธิบายไว้ว่า “เหตุผลของการเกิดตลาดนัด…เนื่องจากวิถีชีวิตของชาวไทยนั้นชอบอยู่กันเป็นหมู่คณะ และรักความสะดวกสบาย ไม่ชอบที่จะต้องเดินทางไปซื้อขายแลกเปลี่ยนไกลบ้าน จึงทำให้เกิดกลุ่มคนที่นัดกันเป็นกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยจัดเป็นชุมนุมเพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของหรือซื้อขาย ซึ่งต่อมาเรียกว่า ตลาดนัด”

สมัยสุโขทัย สันนิษฐานว่า ‘ตลาดปสาน’ อาจเป็นหนึ่งในตลาดนัดสมัยนั้น สมัยอุยธยาก็มีตลาดนัดทั้งบกและน้ำ รวมถึง ‘ตลาดป่า’ ที่เรียกตลาดป่าเพราะคนป่าคนเขา เวลาเข้ามาค้าขายในเมืองก็จะนำสินค้ามาวางขาย เหมือนนัดหมายกันที่ตลาดแห่งนี้ ขายตอนเช้าครั้งหนึ่ง ตอนเย็นอีกครั้งหนึ่ง




ตลาดนัดสมัยธนบุรีก็มีลักษณะเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา แต่จะมีขนาดเล็กกว่า เป็นตลาดที่เรียกกันว่า ‘ตลาดสายหยุด’ เปิดขายตั้งแต่เช้า ถึงช่วงสายก็เลิกขาย แล้วกลับมาเปิดใหม่ตอนบ่ายถึงเย็น

สมัยรัตนโกสินทร์ก็มีตลาดนัดกระจายทั่วไป เช่น ตลาดนัดบริเวณปากคลองตลาดรวมถึงท่าเตียน สินค้าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ สำหรับบรรดาข้าราชสำนักโดยเฉพาะ บริเวณอื่น ๆ ก็มีตลาดนัด เช่น ตลาดนัดของคนจีนแถวตลาดน้อย สำเพ็ง ตลาดนัดของคนเขมร คนญวนแถวคลองผดุงกรุงเกษม และตลาดนัดของพวกฝรั่งแถวบางรัก บางคอแหลม

เมื่อสงครามโลกครั้งที 2 ปะทุ เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ประชาชนหาซื้อข้าวของเครื่องใช้กันลำบาก รวมถึงเกษตรกรก็เดือดร้อน จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีจึงจัดให้มีตลาดนัดส่งเสริมอาชีพกสิกรรมและเกษตรกรรม จัดขึ้นที่ ‘ศาลาเทศบาลนครกรุงเทพ’ แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม ประชาชนมาจับจ่ายกันในช่วงเช้า สายถึงบ่ายก็ไม่มีคนแล้ว สินค้าซื้อขายในช่วงแรกยังไม่มีสินค้าจากต่างจังหวัดและจากสวนใกล้เคียง มักจะเป็นของกินเล่น

ต่อมาตลาดนัดนี้จึงค่อย ๆ นิยมเพิ่มขึ้น มีสินค้าหลากหลายมาขายเพิ่มขึ้น สถานที่เริ่มคับแคบจึงย้ายไปที่สนามหลวง จนกลายเป็นตลาดนัดที่หลาย ๆ คนรู้จักคือ ‘ตลาดนัดสนามหลวง’

ตลาดนัดสนามหลวงเปิดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 ขณะที่จอมพล ป. พิบูลสงครามยังให้เปิดตลาดนัดขึ้นแทบทุกจังหวัด ปีต่อมาทางการต้องใช้พื้นที่สนามหลวงจึงย้ายตลาดนัดไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์ ปรากฏว่าตลาดนัดยิ่งได้รับความนิยมสูงมาก ต่อมากระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเดิมทำการอยู่ที่พระราชวังสราญรมย์ ร้องเรียนกลิ่นปลาเค็ม หอยดอง ปลาร้า ปลาเจ้า กะปิ น้ำปลา สารพัดกลิ่นส่งไปถึงกระทรวง รวมถึงพันธ์ุไม้ก็เฉาตายไปมากเพราะการจัดการไม่ถูกสุขลักษณะ ราดน้ำร้อนบ้าง น้ำก๋วยเตี๋ยวบ้าง น้ำล้างหม้อบ้าง



ในที่สุด พ.ศ. 2500 จึงย้ายออกจากพระราชอุทยานสราญรมย์มาด้านนอก ด้านถนนราชินี บริเวณคลองหลอด แต่ปรากฏว่าได้ปลูกเพิงสร้างแคร่จนเป็นภาพไม่งดงาม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี จึงให้ย้ายตลาดนัดนี้กลับไปยังสยามหลวงตามเดิมใน พ.ศ. 2501 โดยในระยะนั้นมีผู้ค้าประมาณ 300-400 ราย ต่อมาจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

นอกจากนี้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์มีนโยบายเพิ่มตลาดนัดที่เรียกว่า ‘สี่มุมเมือง’ เป็นตลาดนัดจัดหมุนเวียนกันตลอดทั้งสัปดาห์ คือ วันจันทร์ ตลาดนัดที่ท่าเรือ บี ไอ ริมถนนเจริญกรุง, วันอังคาร ตลาดนัดที่ถนนสังคโลกข้างวชิรพยาบาล, วันพุธ ตลาดนัดที่ถนนพระราม 5 หน้าทำเนียบรัฐบาล, วันพฤหัสบดี ตลาดนัดที่ ‘คลองเตยสะพานดำ’ (อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือกรุงเทพฯ เอกลักษณ์ไทย), วันเสาร์และวันอาทิตย์ ตลาดนัดที่สนามหลวง และสวนลุมพินี

ต่อมา ได้เลิกตลาดนัดหมุนเวียนเหล่านี้ คงเหลือแต่เพียงตลาดนัดสนามหลวงเพียงแห่งเดียว จนกระทั่งกรุงเทพมหานครได้เตรียมใช้พื้นที่สนามหลวงจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จึงได้ปิดตลาดนัดสนามหลวงตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา แล้วย้ายตลาดนัดมายังสวนจุตจักรที่เปิดค้าขายกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ตลาดนัดอีกรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏขึ้นหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 คือ ‘เปิดท้ายขายของ’ เป็นตลาดนัดที่นำสินค้ามือสองสภาพดีมาขายจนเป็นที่นิยม ใช้ท้ายรถเป็นร้านค้าวางสินค้า แต่ต่อมาก็ได้นำสินค้าใหม่มาขายด้วย และเลิกใช้ท้ายรถมาใช้แผงหรือราวแขวนอย่างเป็นกิจจะลักษณะ




ตลาดนัดในช่วงหลังนี้ได้รับความนิยมและขยายจำนวนมากขึ้น ปรากฏตลาดนัดอยู่ทั่วทุกมุมเมือง โดยเฉพาะในย่านธุรกิจหรือใกล้สถานที่ราชการ เช่น ตลาดนัดข้างกระทรวงศึกษาธิการ ตลาดหลังสำนักงานการบินไทย ตลาดหลังตึกปตท. ตลาดซอยละลายทรัพย์ ตลาดข้างตึกเมืองไทยประกันชีวิต ฯลฯ ผู้ค้าอาจหมุนเวียนเปลี่ยนตลาดนัดไปเรื่อย ๆ อาจประจำอยู่ที่ตลาดนัดนี้แค่วันนี้ วันอื่นไปตลาดนัดที่อื่น

ต่อมาก็ปรากฏรูปแบบของตลาดนัดแบบใหม่ คือการจัดแสดงสินค้าขนาดใหญ่ เช่น อิมแพคเมืองทองธานี ไบเทคบางนา หรือศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ อีกรูปแบบหนึ่งก็คือ ‘ถนนคนเดิน’ หรือ Walking Street ที่ผสมผสานตลาดนัดเข้ากับการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม เช่น งาน สามแพร่ง Facestreet หรืองาน Bangkok Design Week เป็นตลาดนัดศิลปะและวัฒนธรรม

ตลาดนัดได้ปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของคน ตามกาลสมัย ในปัจจุบันก็มีรูปแบบตลาดนัดออนไลน์ ซื้อขายสินค้ากันผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีการสร้างกลุ่มในเฟซบุ๊ก เพื่อเสนอขายสินค้านานาชนิด ท่ามกลางวิกฤตการณ์ ‘โควิด-19’ ที่ทำให้ตลาดนัดหยุดชะงัก แต่ตลาดนัดออนไลน์ได้ถือกำเนิดขึ้นมาแทนที่เรียบร้อย (นาน) แล้ว

ตลาดนัดกลางคืนน่าเที่ยวใน กทม

ตลาดนัดเลียบด่วนรามอินทรา

 ตลาดนัดเลียบด่วนรามอินทรา ตลาดนัดใหญ่บนพื้นที่หลายสิบไร่ เปิดให้ช้อปปิ้งทุกวัน ตั้งแต่ 5 โมงเย็น จนถึงตีสอง เดินกันเพลินๆ ไปได้เลย ในตลาดมีหลายโซนด้วยกัน ทั้งโซนซื้อของช้อปปิ้งสินค้า เสื้อผ้าแฟชั่น โซนร้านอร่อยนั่งกินดื่ม โซนเฟอร์นิเจอร์ของแต่งบ้าน ข้าวของเครื่องใช้วินเทจ เรียกว่าได้เดินกันเมื่อยตุ้ม

ตลาดนัดรถไฟ ศรีนครินทร์

ตลาดนัดรถไฟ ศรีนครินทร์ เป็นอีกหนึ่งเฟรนชายของตลาดนัดรถไฟค่ะ ซึ่งตั้งอยู่หลังห้างซีคอน ศรีนครินทร์ มีบรรยากาศก็จะมีฟีลวินเทจคล้ายๆ กัน แต่ที่นี่จะกว้างใหญ่กว่ามากะ เรียกได้ว่าไปเดินกี่ครั้งก็ยังแวะได้ไม่หมดทุกร้าน เป็นแหล่งศูนย์รวมของการช้อป และเรื่องอาหารการกินที่หลายหลาก รวมถึงสินค้า เสื้อผ้า ทั้งมือหนึ่ง และมือสอง มีร้านนั่งชิลล์กินดื่มในบรรยากาศสบายๆ เพียบ

ตลาดนัดรถไฟ รัชดา

ตลาดนัดรถไฟ รัชดา แหล่งรวมของคลาสสิคที่เหล่าฮิปสเตอร์ทั้งหลายต้องชอบ ตั้งอยู่ที่ด้านหลังห้างเอสพลานาด รัชดาภิเษกมีทั้งร้านอาหารอร่อย ร้านรวงขายเสื้อผ้าเด็กแนว รวมไปถึงของตกแต่งบ้านสุดคลาสสิคที่หาได้ยากต่างก็มารวมตัวอยู่ที่นี่ แถมยังเดินทางสะดวกมากๆ ด้วย MRT เหมาะกับการไปแฮงค์เอาท์ในคืนวันศุกร์มากๆ

เจ เจ กรีน จตุจักร

J Green หรือ เจ เจ กรีน จตุจักร เป็นตลาดนัดที่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากตลาดนัดสวนจตุจักรมากนัก สามารถเดินถึงกันได้สบาย เปิดทุกเย็นวันพฤหัสบดี-วันอาทิตย์ ตั้งแต่ประมาณ 5 โมงเย็นเป็นต้นไปจนถึงเที่ยงคืน สำหรับร้านค้าที่มีจะเป็นของแนววินเทจ ของแฮนด์เมด งานดีไซน์ ของประดับตกแต่งบ้าน เสื้อผ้าแฟชั่น รวมไปถึงมีร้านนั่งกินดื่มชิลล์ๆ รับลม เป็นแหล่งแฮงค์เอาท์ที่ห้ามพลาดทีเดียว