ตลาดนกฮูก
ตลาดนกฮูก ตลาดนัดอันดับ 1 เมืองนนท์ จุดรวมสินค้าและบริการขวัญใจวัยรุ่น ครบทุกเรื่องไม่ว่า เน้นกิน เน้นเที่ยว เน้นช็อปปิ้ง หรือจะเสริมหล่อ เสริมสวย ถ้ามาตลาดนกฮูก บอกได้คำเดียวไม่ต้องไปต่อที่ไหนแล้ว
ที่ ตลาดนกฮูก ทุกวันช่วงเย็นๆผู้คนมากมายโดยเฉพาะวัยรุ่น มักมารวมตัดนัดพบสังสรรค์ทานอาหาร บนถนนเลี่ยงเมืองนนท์ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ. นนทบุรี ด้วยพื้นที่ให้บริการที่กว้างขว้าง มีร้านค้าต่างๆรวมกว่า 500 ราย มีสินค้าทุกประเภทเรียกว่าแค่มาเดินดูกว่าจะเดินก็แทบจะหมดเวลาแล้ว ร้านค้าที่นี้เยอะจริงๆ
เพื่อให้ง่ายต่อการเดินเที่ยวครั้งนี้ เราขอแบ่งพื้นที่ออกเป็นโซนดังนี้ แม้ว่าจะไม่การแบ่งโซนที่ชัดเจดเพราะร้านค้าก็ตั้งเรียงรายสลับกันไป จะมีแต่โซนซุ้มชายอาหารที่อยู่รวมกันชัดเจน แต่ร้านขายอาหารแบบมีโต๊ะนั่งในร้านก็มีอยู่ทั่วไปในตลาด
โดยภาพรวมตลาดนกฮูก เป็นตลาดนัดกลางคืน เป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยในร่มและกลางแจ้งขนาดใหญ่ มีทั้งร้านค้าประจำและตลาดเปิดท้าย แต่ละวันมีผู้คนมาจับจ่ายใช้สอย มารับประทานอาหารเป็นจำนวนมาก
โซนร้านค้าในร่ม@ตลาดนกฮูก
ที่ตลาดนกฮูกจะมีอาคารในร่มขนาดใหญ่เป็นอาคารแบบเปิดโล่ง หลังคายกสูง ด้านในมีร้านค้าต่างๆมากมาย ร้านทำเล็บก็มีอยู่หลายร้าน มีคุณลูกค้าสาวๆ นั่งใช้บริการกันเพลินอุรา
สินค้าเครื่องสำอางค์เพิ่มความงามสำหรับสาวๆก็เพียบ
ร้านอาหารต่างๆก็มีจำนวนมากทั้งแบบร้านบุฟเฟ่ อิ่มไม่อั้น เหมาราคาต่อหัว หรือร้านจานเดียวราคามีให้เลือกหลากหลาย เริ่มต้นที่ 20 บาท
ร้านต้นไม้ก็มีสำหรับคนชอบธรรมชาติ ต้องการสีเขียว ที่ตลาดนกฮูฏมีให้เลือกซื้อหาหลายร้านกระจายอยู่ทั่วตลาด ใครต้องการต้นไม้ฟอกอากาสมาหาซื้อได้
ทำเป็นเล่นไปเดี๋ยวจะหาว่าไม่ครบสรรพสิ่ง ร้านขายปลาก็มีให้เลือกซื้อ ตู้โหลอุปกรณ์ครบพร้อมเลี้ยง ปลาก็มีให้เลือกหลายชนิกถูกแพงว่ากันไป ใครชอบวัดดวงวัดฝีมือ ตักกระช้อนผ้าแบบงานวัดก็มี ตักได้จนกว่ากระช้อนจะขาด ปลาที่มีให้ตักก็พวก ปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลารักเร้ ใครชอบปลากัดก็มีให้เลือกกันด้วยนะ ร้านปลามีร้านนี้ร้านเดียว ชอบปลามาซื้อกันได้
มาถึงร้านนี้ หนุ่มๆของจะชอบกัน ร้องเท้ามือสองของแท้ เลือกซื้อเลือกหากันได้ตามชอบเลย ร้องเท้าผู้หญิงก็มีเยอะน่าาา
เดินมาเจอร้านต้นไม้อีก บอนไซ ก็มีราคาเบาๆ หรือจะชอบกระบองเพชรก็เลือกสรรกันได้ ซื้อ 1 แถม 1 อีกด้วยนะขอบอก
ร้องเท้าสำหรับคุณสุภาพสตรี มีให้เลือกมากมาย
ร้านตัวต่อหุ่นโชว์ไมเดลต่างๆ และร้านของเล่นสำหรับคุณน้องๆหนูๆ ก็เลือกซื้อเลือกหากันได้ที่ตลาดนกฮูก
โซนร้านค้าด้านนอก@ตลาดนกฮูก
ตลาดด้านนอกก็มีทั้งแบบเป็นซุ้ม เป็นห้อง และตั้งเต้นขายสไตล์ตลาดนัดกลางแจ้ง มีร้านอาหารตั้งสลับกับร้านค้าทั่วไป
เดินพ้นอาคารใหญ่มาก็เจอร้านรองเท้ามือ 2 อยู่ในซุ้มโครงเหล็ก เป็นรองเท้าแบรนด์ดังของแท้มีให้เลือกดูเลือกเป็นเจ้าของกันในราคาเบาๆ
ช๊อปเสื้อผ้าแฟชั่นคุณผู้หญิง
ร้านตัดผม ร้านแรกที่เจอวันนี้ มีลูกค้านั่งรอคิวเพียบ ชื่อร้านสถานีหล่อสวย ราคา 150 บ.ต่อหัว ทั้ง ชาย หญิง และเด็ก
ร้าานตุ๊กตาจ้า ซื้อตุ๊กตาไปฝากเด็กๆกันได้
ร้านทำเล็บด้านนอกอาคาร ลูกค้าก็เยอะไม่แพ้กัน เรื่องความสวยสาวๆยอมกันไม่ได้เลยจริงๆ
ร้านกางเกงยีนส์ ทั้งแฟชั่น ผู้ชายและผู้หญิง มีมากมาายหลายทรง ทั้งขาสั้นขายาว มหลายยี้ห้อให้เลือกด้วย
ถัดมาอีกล็อคก็เป็นร้านทำสีผม เสื้อผ้าเด็ก ร้านกางเกงยีนส์ด้านท้ายๆมีร้านสติ๊กเกอร์ ร้านพวงกุญแจ ร้านของแต่งรถยน รถมอเตอร์ไซค์
ร้านตัดผมอีกร้านหนึ่งที่น่าสนใจ อเมริกัน วินเทจ คนรอคิวเพียบเหมือนกัน
ร้านทำเล็บ ที่ลูกค้ารอเพียบเต็มหน้าร้านอีกเช่นกัน
ร้านค้าทั้ง 2 ด้านของโซนนั่งทานอาหาร
โซนตลาดนัดของตลาดนกฮูกก็มีของขายเยอะมาก สาธยายไม่หมดจริง อยากให้เพื่อนๆมาชมด้วยตา มาเดินเล่นด้วยตัวเอง จะเดินดูก่อนหนึ่งรอบ รอบ 2 คนซื้อ รับรองใช้เวลาหลายชั่วโมง ร้านเยอะจริงๆ
มีร้านอาหาร ร้านนั่งเล่นชั้น 2 กินไป ฟังเพลงไป ดูบรรยากาสตลาดยามค่ำคืนก็ฟินไปอีกแบบ
โซนร้านอาหารและลานนั่งรับประทาน
ซุ้มขายอาหารจะเป็น อาคารโปล่งหลังคาสูงหลังใหญ่ๆ 1 หลัง มีร้านขายอาหารอยู่นับไม่ถ้วนเลยทีเดียว มีอาหารให้เลือกทานครบทุกประเภท วันนี้เราเก็บมาให้เห็นภาพรวมๆ ให้ได้ชมกัน เพราะร้านเยอะจริงๆ
เร่มกันที่โซนทานอาหารกล้างแจ้ง ประดับด้วยไฟสาย เป็นซุ้มจากตรงกลางลานเหมือนงานวัด ไฟตรงนี้เองครับที่เมื่อผ่านไปผ่านมาบนถนนรัตนาธิเบต และถนนเลี่ยงเมืองนนท์ จะเห็นไปซุ้มนี้เด่นชัดมาก
ซุ้มขายอาหารภายในโซนขายอาหาร ร้านอาหารเยอะมาก
ด้านริมๆก็จะมีร้านอาหารที่มีโต๊ะให้นั่งทานหน้าร้านได้เลย
ภาพร้านอาหารบ้างส่วนในซุ้มขายอาหารตลาดนกฮูก
รูปชุดนี้เป็นร้านอาหาร ที่อยู่รายรอบอาคารโซนอาหาร ซึ่งเราก็เลือกรูปมาได้เพียบบางส่วน เพราะเยอะจริงๆ
ตลาดนกฮูก ตลาดนัดอันดับ 1 เมืองนนท์
สรุปทริปตลาดนกฮูก
เปิดบริการ 17.00 น – 24.00 น
มีร้านค้าของใช้ประจำวันครบ ของเล่น ของสะสม ต้นไม้ ปลาสวยงาม
ที่จอดรถยนต์ ตลาดนกฮูกมีที่จอดรถได้มากกว่า 500 คัน
ที่จอดรถจักรยานยนต์ จอดได้มากกว่า 300 คัน
เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย
เวลาที่แนะนำ 17.00 – 22.00 น.
ค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
แผนที่และการเดินทาง
ตำนานตลาดนัด
‘ตลาด’ มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ตลาดน้ำ ตลาดบก ตลาดสด หาบเร่แผงลอย และโดยเฉพาะ ‘ตลาดนัด’ ซึ่งอาจไม่แตกต่างกับตลาดทั่วไป แต่มีความพิเศษอยู่ที่การกำหนด ‘เวลา’ ในการ ‘นัด’ การซื้อขาย ตามที่ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของตลาดนัดไว้ว่า “ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ประจำ จัดให้มีขึ้นเฉพาะในวันหรือสถานที่ที่กำหนดเท่านั้น”
รูปแบบของตลาดนัดมีผู้อธิบายไว้ว่า “เหตุผลของการเกิดตลาดนัด…เนื่องจากวิถีชีวิตของชาวไทยนั้นชอบอยู่กันเป็นหมู่คณะ และรักความสะดวกสบาย ไม่ชอบที่จะต้องเดินทางไปซื้อขายแลกเปลี่ยนไกลบ้าน จึงทำให้เกิดกลุ่มคนที่นัดกันเป็นกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยจัดเป็นชุมนุมเพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของหรือซื้อขาย ซึ่งต่อมาเรียกว่า ตลาดนัด”
สมัยสุโขทัย สันนิษฐานว่า ‘ตลาดปสาน’ อาจเป็นหนึ่งในตลาดนัดสมัยนั้น สมัยอุยธยาก็มีตลาดนัดทั้งบกและน้ำ รวมถึง ‘ตลาดป่า’ ที่เรียกตลาดป่าเพราะคนป่าคนเขา เวลาเข้ามาค้าขายในเมืองก็จะนำสินค้ามาวางขาย เหมือนนัดหมายกันที่ตลาดแห่งนี้ ขายตอนเช้าครั้งหนึ่ง ตอนเย็นอีกครั้งหนึ่ง
ตลาดนัดสมัยธนบุรีก็มีลักษณะเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา แต่จะมีขนาดเล็กกว่า เป็นตลาดที่เรียกกันว่า ‘ตลาดสายหยุด’ เปิดขายตั้งแต่เช้า ถึงช่วงสายก็เลิกขาย แล้วกลับมาเปิดใหม่ตอนบ่ายถึงเย็น
สมัยรัตนโกสินทร์ก็มีตลาดนัดกระจายทั่วไป เช่น ตลาดนัดบริเวณปากคลองตลาดรวมถึงท่าเตียน สินค้าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ สำหรับบรรดาข้าราชสำนักโดยเฉพาะ บริเวณอื่น ๆ ก็มีตลาดนัด เช่น ตลาดนัดของคนจีนแถวตลาดน้อย สำเพ็ง ตลาดนัดของคนเขมร คนญวนแถวคลองผดุงกรุงเกษม และตลาดนัดของพวกฝรั่งแถวบางรัก บางคอแหลม
เมื่อสงครามโลกครั้งที 2 ปะทุ เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ประชาชนหาซื้อข้าวของเครื่องใช้กันลำบาก รวมถึงเกษตรกรก็เดือดร้อน จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีจึงจัดให้มีตลาดนัดส่งเสริมอาชีพกสิกรรมและเกษตรกรรม จัดขึ้นที่ ‘ศาลาเทศบาลนครกรุงเทพ’ แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม ประชาชนมาจับจ่ายกันในช่วงเช้า สายถึงบ่ายก็ไม่มีคนแล้ว สินค้าซื้อขายในช่วงแรกยังไม่มีสินค้าจากต่างจังหวัดและจากสวนใกล้เคียง มักจะเป็นของกินเล่น
ต่อมาตลาดนัดนี้จึงค่อย ๆ นิยมเพิ่มขึ้น มีสินค้าหลากหลายมาขายเพิ่มขึ้น สถานที่เริ่มคับแคบจึงย้ายไปที่สนามหลวง จนกลายเป็นตลาดนัดที่หลาย ๆ คนรู้จักคือ ‘ตลาดนัดสนามหลวง’
ตลาดนัดสนามหลวงเปิดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 ขณะที่จอมพล ป. พิบูลสงครามยังให้เปิดตลาดนัดขึ้นแทบทุกจังหวัด ปีต่อมาทางการต้องใช้พื้นที่สนามหลวงจึงย้ายตลาดนัดไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์ ปรากฏว่าตลาดนัดยิ่งได้รับความนิยมสูงมาก ต่อมากระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเดิมทำการอยู่ที่พระราชวังสราญรมย์ ร้องเรียนกลิ่นปลาเค็ม หอยดอง ปลาร้า ปลาเจ้า กะปิ น้ำปลา สารพัดกลิ่นส่งไปถึงกระทรวง รวมถึงพันธ์ุไม้ก็เฉาตายไปมากเพราะการจัดการไม่ถูกสุขลักษณะ ราดน้ำร้อนบ้าง น้ำก๋วยเตี๋ยวบ้าง น้ำล้างหม้อบ้าง
ในที่สุด พ.ศ. 2500 จึงย้ายออกจากพระราชอุทยานสราญรมย์มาด้านนอก ด้านถนนราชินี บริเวณคลองหลอด แต่ปรากฏว่าได้ปลูกเพิงสร้างแคร่จนเป็นภาพไม่งดงาม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี จึงให้ย้ายตลาดนัดนี้กลับไปยังสยามหลวงตามเดิมใน พ.ศ. 2501 โดยในระยะนั้นมีผู้ค้าประมาณ 300-400 ราย ต่อมาจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์มีนโยบายเพิ่มตลาดนัดที่เรียกว่า ‘สี่มุมเมือง’ เป็นตลาดนัดจัดหมุนเวียนกันตลอดทั้งสัปดาห์ คือ วันจันทร์ ตลาดนัดที่ท่าเรือ บี ไอ ริมถนนเจริญกรุง, วันอังคาร ตลาดนัดที่ถนนสังคโลกข้างวชิรพยาบาล, วันพุธ ตลาดนัดที่ถนนพระราม 5 หน้าทำเนียบรัฐบาล, วันพฤหัสบดี ตลาดนัดที่ ‘คลองเตยสะพานดำ’ (อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือกรุงเทพฯ เอกลักษณ์ไทย), วันเสาร์และวันอาทิตย์ ตลาดนัดที่สนามหลวง และสวนลุมพินี
ต่อมา ได้เลิกตลาดนัดหมุนเวียนเหล่านี้ คงเหลือแต่เพียงตลาดนัดสนามหลวงเพียงแห่งเดียว จนกระทั่งกรุงเทพมหานครได้เตรียมใช้พื้นที่สนามหลวงจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จึงได้ปิดตลาดนัดสนามหลวงตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา แล้วย้ายตลาดนัดมายังสวนจุตจักรที่เปิดค้าขายกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ตลาดนัดอีกรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏขึ้นหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 คือ ‘เปิดท้ายขายของ’ เป็นตลาดนัดที่นำสินค้ามือสองสภาพดีมาขายจนเป็นที่นิยม ใช้ท้ายรถเป็นร้านค้าวางสินค้า แต่ต่อมาก็ได้นำสินค้าใหม่มาขายด้วย และเลิกใช้ท้ายรถมาใช้แผงหรือราวแขวนอย่างเป็นกิจจะลักษณะ
ตลาดนัดในช่วงหลังนี้ได้รับความนิยมและขยายจำนวนมากขึ้น ปรากฏตลาดนัดอยู่ทั่วทุกมุมเมือง โดยเฉพาะในย่านธุรกิจหรือใกล้สถานที่ราชการ เช่น ตลาดนัดข้างกระทรวงศึกษาธิการ ตลาดหลังสำนักงานการบินไทย ตลาดหลังตึกปตท. ตลาดซอยละลายทรัพย์ ตลาดข้างตึกเมืองไทยประกันชีวิต ฯลฯ ผู้ค้าอาจหมุนเวียนเปลี่ยนตลาดนัดไปเรื่อย ๆ อาจประจำอยู่ที่ตลาดนัดนี้แค่วันนี้ วันอื่นไปตลาดนัดที่อื่น
ต่อมาก็ปรากฏรูปแบบของตลาดนัดแบบใหม่ คือการจัดแสดงสินค้าขนาดใหญ่ เช่น อิมแพคเมืองทองธานี ไบเทคบางนา หรือศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ อีกรูปแบบหนึ่งก็คือ ‘ถนนคนเดิน’ หรือ Walking Street ที่ผสมผสานตลาดนัดเข้ากับการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม เช่น งาน สามแพร่ง Facestreet หรืองาน Bangkok Design Week เป็นตลาดนัดศิลปะและวัฒนธรรม
ตลาดนัดได้ปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของคน ตามกาลสมัย ในปัจจุบันก็มีรูปแบบตลาดนัดออนไลน์ ซื้อขายสินค้ากันผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีการสร้างกลุ่มในเฟซบุ๊ก เพื่อเสนอขายสินค้านานาชนิด ท่ามกลางวิกฤตการณ์ ‘โควิด-19’ ที่ทำให้ตลาดนัดหยุดชะงัก แต่ตลาดนัดออนไลน์ได้ถือกำเนิดขึ้นมาแทนที่เรียบร้อย (นาน) แล้ว
ตลาดนัดกลางคืนน่าเที่ยวใน กทม ตลาดนัดเลียบด่วนรามอินทรา ตลาดนัดเลียบด่วนรามอินทรา ตลาดนัดใหญ่บนพื้นที่หลายสิบไร่ เปิดให้ช้อปปิ้งทุกวัน ตั้งแต่ 5 โมงเย็น จนถึงตีสอง เดินกันเพลินๆ ไปได้เลย ในตลาดมีหลายโซนด้วยกัน ทั้งโซนซื้อของช้อปปิ้งสินค้า เสื้อผ้าแฟชั่น โซนร้านอร่อยนั่งกินดื่ม โซนเฟอร์นิเจอร์ของแต่งบ้าน ข้าวของเครื่องใช้วินเทจ เรียกว่าได้เดินกันเมื่อยตุ้ม ตลาดนัดรถไฟ ศรีนครินทร์ ตลาดนัดรถไฟ ศรีนครินทร์ เป็นอีกหนึ่งเฟรนชายของตลาดนัดรถไฟค่ะ ซึ่งตั้งอยู่หลังห้างซีคอน ศรีนครินทร์ มีบรรยากาศก็จะมีฟีลวินเทจคล้ายๆ กัน แต่ที่นี่จะกว้างใหญ่กว่ามากะ เรียกได้ว่าไปเดินกี่ครั้งก็ยังแวะได้ไม่หมดทุกร้าน เป็นแหล่งศูนย์รวมของการช้อป และเรื่องอาหารการกินที่หลายหลาก รวมถึงสินค้า เสื้อผ้า ทั้งมือหนึ่ง และมือสอง มีร้านนั่งชิลล์กินดื่มในบรรยากาศสบายๆ เพียบ ตลาดนัดรถไฟ รัชดา ตลาดนัดรถไฟ รัชดา แหล่งรวมของคลาสสิคที่เหล่าฮิปสเตอร์ทั้งหลายต้องชอบ ตั้งอยู่ที่ด้านหลังห้างเอสพลานาด รัชดาภิเษกมีทั้งร้านอาหารอร่อย ร้านรวงขายเสื้อผ้าเด็กแนว รวมไปถึงของตกแต่งบ้านสุดคลาสสิคที่หาได้ยากต่างก็มารวมตัวอยู่ที่นี่ แถมยังเดินทางสะดวกมากๆ ด้วย MRT เหมาะกับการไปแฮงค์เอาท์ในคืนวันศุกร์มากๆ เจ เจ กรีน จตุจักร J Green หรือ เจ เจ กรีน จตุจักร เป็นตลาดนัดที่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากตลาดนัดสวนจตุจักรมากนัก สามารถเดินถึงกันได้สบาย เปิดทุกเย็นวันพฤหัสบดี-วันอาทิตย์ ตั้งแต่ประมาณ 5 โมงเย็นเป็นต้นไปจนถึงเที่ยงคืน สำหรับร้านค้าที่มีจะเป็นของแนววินเทจ ของแฮนด์เมด งานดีไซน์ ของประดับตกแต่งบ้าน เสื้อผ้าแฟชั่น รวมไปถึงมีร้านนั่งกินดื่มชิลล์ๆ รับลม เป็นแหล่งแฮงค์เอาท์ที่ห้ามพลาดทีเดียว
Comments are closed.